ไบโอติน ช่วยอะไรบ้าง ด้านผม เล็บ และผิวพรรณ

ไบโอติน ช่วยอะไรบ้าง

ไบโอติน ช่วยอะไรบ้าง หลายคนอาจเคยได้ยิน ชื่อวิตามินชนิดนี้ จากผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม เล็บ หรืออาหารเสริมเพื่อสุขภาพ แต่แท้จริงแล้ว ไบโอตินมีบทบาทสำคัญ ที่มากกว่านั้น มันเป็นสารอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญ ของร่างกาย และมีความสำคัญ ต่อสุขภาพโดยรวม ไม่ใช่แค่ในด้านความงามเท่านั้น

กรดแพนโทธีนิกหรือไบโอตินคืออะไร?

ไบโอตินหรือที่เรียกว่า วิตามิน B7 เป็นวิตามิน ที่ละลายน้ำได้ และเป็นหนึ่งในกลุ่ม Vitamin B Complex ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ไบโอตินมีบทบาทหลัก ในการช่วยให้ enzyme ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกระบวนการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน ที่ร่างกายสามารถใช้ได้

แหล่งของไบโอตินในอาหารธรรมชาติ

ไบโอติน ช่วยอะไรบ้าง

ไบโอตินสามารถพบได้ ในอาหารหลายชนิด โดยแหล่งอาหาร ที่อุดมไปด้วยไบโอติน ได้แก่

  • ไข่แดง มีไบโอตินในปริมาณสูง แต่การรับประทานไข่ดิบ อาจลดการดูดซึมไบโอตินได้
  • ตับ และเครื่องในสัตว์ เป็นแหล่งที่ดีของไบโอติน และสารอาหารอื่นๆ
  • ถั่ว และเมล็ดพืช เช่นอัลมอนด์ วอลนัท และเมล็ดทานตะวัน
  • เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อวัว และเนื้อไก่
  • ปลา เช่นแซลมอน และปลาซาร์ดีน
  • ผักและผลไม้บางชนิด เช่นกล้วย อะโวคาโด และเห็ด
  • ผลิตภัณฑ์จากนม นม ชีส และโยเกิร์ต

กิน Biotin ดีไหม?

ไบโอติน ช่วยอะไรบ้าง ไบโอตินมีบทบาท ในกระบวนการเผาผลาญอาหาร และเสริมสร้างสุขภาพ ของร่างกายดังนี้

  • ช่วยบำรุงเส้นผม กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ลดปัญหาผมร่วง ผมบาง ทำให้เส้นผมแข็งแรง เงางาม
  • ช่วยเสริมความแข็งแรงของเล็บ ลดอาการเล็บเปราะ หักง่าย ทำให้เล็บหนาขึ้น และแข็งแรงขึ้น
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี ลดอาการผิวแห้ง มีส่วนช่วยลดปัญหา ผื่นผิวหนังบางประเภท
  • ช่วยระบบเผาผลาญ ช่วยร่างกายเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนให้เป็นพลังงาน สนับสนุนการทำงาน ของเอนไซม์ในร่างกาย
  • ส่งเสริมสุขภาพระบบประสาท ช่วยในการทำงานของสมอง และระบบประสาท มีส่วนช่วยลดความเหนื่อยล้า และอ่อนเพลีย

ที่มา: ไบโอติน (Biotin) คืออะไร มีประโยชน์ ต่อการบำรุงเส้นผมอย่างไร [1]

ปริมาณแนะนำอาหารเสริมไบโอติน

ในกรณีที่ร่างกายได้รับไบโอตินไม่เพียงพอ หรือต้องการเสริมไบโอติน อาหารเสริมไบโอติน สามารถเป็นตัวเลือกที่ดี โดยอาหารเสริมไบโอติน มักมีปริมาณตั้งแต่ 1,000 – 10,000 ไมโครกรัม (mcg) ต่อเม็ด ซึ่งปริมาณที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ของการใช้ เช่น

  • ปริมาณ 1,000 – 5,000 mcg/วัน เหมาะสำหรับการบำรุงร่างกายทั่วไป
  • ปริมาณ 5,000 – 10,000 mcg/วัน ใช้ในกรณีที่ต้องการบำรุง ฟื้นฟูสุขภาพเส้นผม และเล็บ อย่างเร่งด่วน

วิธีเลือกอาหารเสริม Biotin

  • ควรเลือกผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมไบโอติน ที่ได้รับการรับรอง จากแบรนด์ที่เชื่อถือได้
  • ไบโอตินควรเป็นรูปแบบที่ดูดซึมได้ดี เช่นไบโอตินแบบเม็ด ไบโอตินซอฟต์เจล หรือไบโอตินแบบน้ำ
  • อาจเลือกผลิตภัณฑ์ ที่มีสารอาหารเสริมอื่นๆ เช่น Zinc, vitamin C หรือ Collagen เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพของไบโอติน

ไบโอตินผลข้างเคียงข้อควรระวัง

ไบโอตินเป็นวิตามินที่ปลอดภัย แต่การรับประทานมากเกินไป อาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น

  • อาการทางผิวหนัง เช่นผื่น หรืออาการแพ้
  • การรบกวนผลตรวจเลือดบางชนิด เช่นการตรวจไทรอยด์
  • อาการท้องอืด หรือระบบย่อยอาหาร ทำงานผิดปกติในบางราย

สรุป ไบโอติน วิตามินบำรุงเส้นผม เล็บ

ไบโอตินเป็นวิตามิน ที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างพลังงาน จากสารอาหาร แต่ยังช่วยบำรุงสุขภาพเส้นผม และเล็บให้แข็งแรง มีแหล่งอาหารธรรมชาติ ที่สามารถให้ไบโอตินได้เพียงพอ แต่ในบางกรณี อาหารเสริมไบโอติน อาจเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสุขภาพผม และเล็บอย่างเร่งด่วน

ห้ามกินไบโอตินคู่กับอะไร?

มีอาหาร หรือยาบางอย่าง ที่อาจส่งผล ต่อการดูดซึม และประสิทธิภาพ ของไบโอติน ดังนี้

  • ไข่ขาวดิบ: การทานไข่ขาวดิบ ในปริมาณมาก และต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ร่างกายขาดไบโอตินได้ เนื่องจากในไข่ขาวดิบมีสารAvidin ที่สามารถจับกับไบโอติน และขัดขวางการดูดซึมของร่างกาย
  • ยาปฏิชีวนะ: การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อแบคทีเรียในลำไส้ ที่ช่วยในการสังเคราะห์ไบโอติน ทำให้ระดับไบโอตินในร่างกายลดลง

ข้อควรระวัง ก่อนเริ่มรับประทานอาหารเสริมไบโอติน ควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะหากกำลังใช้ยารักษาโรคประจำตัว เพื่อป้องกันปฏิกิริยาระหว่างยา หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น [2]

ไบโอตินทำให้เกิดสิวได้หรือไม่?

มีรายงานว่า การรับประทานไบโอติน ในปริมาณมาก อาจทำให้การดูดซึมของ Pantothenic acid (วิตามิน B5) ลดลง ซึ่งกรดแพนโทธีนิก มีบทบาทในการควบคุมการผลิตน้ำมัน ในผิวหนัง เมื่อระดับของกรดแพนโทธีนิกลดลง อาจนำไปสู่การผลิตน้ำมันที่มากขึ้น ส่งผลให้รูขุมขนอุดตัน และเกิดสิวตามมาได้ โดยมีคำแนะนำ ดังนี้

  • หากมีแนวโน้มเป็นสิวง่าย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ก่อนเริ่มรับประทานไบโอตินเสริม
  • ควรรับประทานไบโอตินในปริมาณที่เหมาะสม และไม่เกินกว่าที่แนะนำ
  • หากสังเกตว่ามีสิวเพิ่มขึ้น หลังจากเริ่มรับประทานไบโอติน ควรหยุด และปรึกษาแพทย์

ที่มา: Can Biotin Cause Acne? [3]

 

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง