Zinc ช่วยอะไร ประโยชน์ด้านเส้นผมและเล็บ

Zinc ช่วยอะไร

Zinc ช่วยอะไร คำถามที่หลายคนสงสัย เกี่ยวกับแร่ธาตุสำคัญ ที่มีบทบาทต่อสุขภาพร่างกาย ซิงค์เป็นหนึ่งในสารอาหารที่ร่างกายต้องการ แม้จะเป็นแร่ธาตุรอง แต่กลับมีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานต่างๆ หลายคนอาจไม่ทราบ ว่าซิงค์มีผลต่อร่างกายในหลากหลายด้านอย่างไรบ้าง บทความนี้ จะช่วยให้เข้าใจประโยชน์ของซิงค์ให้มากขึ้น

ซิงค์คืออะไร ทำไมสำคัญ?

ซิงค์หรือสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องได้รับจากอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้าง หรือเก็บสะสมซิงค์ได้เอง ในปริมาณมาก ซิงค์มีบทบาทสำคัญ ต่อร่างกายในหลายๆด้าน ดังนี้

  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรค และลดความเสี่ยง ของการติดเชื้อ
  • กระตุ้นกระบวนการสร้างโปรตีน และดีเอ็นเอ ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ
  • ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น โดยกระตุ้นการเจริญเติบโต ของเนื้อเยื่อใหม่
  • มีบทบาทสำคัญ ต่อการทำงานของเอนไซม์กว่า 300 ชนิดในร่างกาย
  • ช่วยดูแลสุขภาพผิว ผม และเล็บ ลดปัญหาสิว รังแค ผมร่วง และเล็บเปราะบาง

ที่มา: อาหารเสริมที่เป็นวิตามิน แร่ธาตุ-Zinc ช่วยอะไรบ้าง[1]

 

Zinc ช่วยอะไร กับเส้นผมและเล็บ

Zinc ช่วยอะไร

Zinc ช่วยอะไร ซิงค์เป็นแร่ธาตุที่สำคัญ ต่อสุขภาพเส้นผมและเล็บ ดังนี้

  • กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ช่วยกระตุ้นรูขุมขน ทำให้ผมเจริญเติบโตเร็วขึ้น และแข็งแรง
  • ลดการหลุดร่วงของเส้นผม ซิงค์ช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมน ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผมร่วง เช่น DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของผมร่วงในเพศชาย
  • ช่วยบำรุงหนังศีรษะ ลดการเกิดรังแค และอาการคันศีรษะ
  • ช่วยให้เล็บแข็งแรงขึ้น ลดปัญหาเล็บเปราะ หักง่าย
  • ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเล็บ ช่วยให้เล็บงอกได้อย่างมีสุขภาพดี
  • ป้องกันเล็บขาว หรือเป็นจุดขาว ซึ่งเป็นอาการของการขาดซิงค์

แหล่งอาหารทั่วไปที่พบซิงค์

หากต้องการได้รับซิงค์จากธรรมชาติ สามารถเลือกทานอาหาร ที่อุดมไปด้วยซิงค์ เช่น

  • เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ เนื้อวัว เนื้อหมู และไก่
  • อาหารทะเล เช่นหอยนางรม กุ้ง และปลาซาร์ดีน
  • ถั่วและเมล็ดพืช เช่นเมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน และอัลมอนด์
  • ผลิตภัณฑ์จากนม เช่นชีส และโยเกิร์ต
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่นข้าวโอ๊ต และข้าวกล้อง

อาการของการขาดซิงค์มีอะไรบ้าง?

การขาดแร่ธาตุซิงค์ สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายอย่าง อาการและสัญญาณ ที่บ่งบอกถึงการขาดสังซิงค์ ได้แก่

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้น ฟื้นตัวจากโรค ได้ช้ากว่าปกติ
  • แผลหายช้า ซิงค์มีส่วนช่วยในการสมานแผล และซ่อมแซมเซลล์ผิว เมื่อขาดอาจทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ
  • เกิดการอักเสบของผิวหนัง อาจส่งผลให้เกิดสิว หรือภาวะผิวแห้งลอกได้ง่าย
  • ผมร่วง เนื่องจากซิงค์มีบทบาท ในการเจริญเติบโตของเส้นผม การขาดอาจส่งผลให้เส้นผมหลุดร่วงมากขึ้น
  • เบื่ออาหาร อาจรู้สึกไม่อยากอาหาร หรือลดน้ำหนักโดยไม่ตั้งใจ
  • ปัญหาในการรับรู้รสชาติและกลิ่น การรับรู้รสชาติอาจลดลง หรือผิดปกติ
  • การเจริญเติบโตช้าลงในเด็ก ซิงค์เป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่ช่วยให้ร่างกายเติบโต หากขาดอาจทำให้เด็กมีภาวะเติบโตช้ากว่าปกติ

ที่มา: Zinc-ช่วยอะไร [2]

 

วิธีการเลือกอาหารเสริมซิงค์

สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับซิงค์เพียงพอจากอาหาร การเลือกอาหารเสริม เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยทั่วไป ซิงค์ในรูปแบบอาหารเสริม มีหลายประเภทเช่น

  • Zinc-Gluconate ดูดซึมง่าย เหมาะสำหรับการบำรุงสุขภาพทั่วไป
  • Zinc-Picolinate ดูดซึมได้ดีที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ บำรุงผิวพรรณ ผม และเล็บ
  • Zinc-Citrate ดูดซึมง่าย และมีผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหาร น้อยกว่ารูปแบบอื่นๆ
  • Zinc-Sulfate ราคาประหยัด แต่บางครั้ง อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร

คำแนะนำในทานซิงค์เสริม

  • ปริมาณที่แนะนำ สำหรับผู้ใหญ่คือ 8-11 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ไม่ควรรับประทานซิงค์ ในปริมาณที่สูงเกินไป เนื่องจากอาจรบกวนการดูดซึมของแร่ธาตุอื่น เช่นทองแดง และธาตุเหล็ก
  • ควรรับประทานพร้อมอาหาร เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร

สรุป ซิงค์ แร่ธาตุบำรุงผิว ผม เล็บ

ซิงค์เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายในหลายด้าน ตั้งแต่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ไปจนถึงช่วยบำรุงสุขภาพผิว ผม และเล็บ การรับประทานอาหาร ที่อุดมไปด้วยซิงค์ หรือเลือกอาหารเสริมที่เหมาะสม สามารถช่วยให้ร่างกาย ได้รับซิงค์อย่างเพียงพอ การดูแลตัวเองจากภายในเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

Zinc ไม่ควรรับประทานคู่อะไร?

การรับประทานซิงค์ ควรระมัดระวัง ไม่รับประทานร่วมกับสาร หรือยาบางชนิด เนื่องจากอาจลดประสิทธิภาพการดูดซึม หรือการออกฤทธิ์ของซิงค์และยา สารหรือยาที่ไม่ควรรับประทานร่วมกับซิงค์ มีดังนี้

  • แคลเซียม และธาตุเหล็ก การรับประทานซิงค์ร่วมกับแคลเซียม หรือธาตุเหล็ก อาจทำให้การดูดซึมของสังซิงค์ลดลง เนื่องจากแร่ธาตุเหล่านี้ มีประจุที่คล้ายคลึงกัน ควรรับประทานแยกมื้ออาหาร เพื่อป้องกันปัญหาการดูดซึม
  • ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Quinolone และ Tetracycline ซิงค์สามารถลดการดูดซึม ของยาปฏิชีวนะในกลุ่มนี้ ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง ควรรับประทานยาปฏิชีวนะก่อน อย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือหลังรับประทานซิงค์ 4-6 ชั่วโมง
  • ยากลุ่ม Penicillamine ยานี้ใช้รักษาโรคไขข้ออักเสบ การรับประทานซิงค์ร่วมกับยานี้ อาจลดประสิทธิภาพของยา ควรรับประทานซิงค์ห่างจากยานี้ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • แอลกอฮอล์: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจลดการดูดซึมซิงค์ของร่างกาย

ที่มา: เพราะชีวิตขาด-Zinc ไม่ได้ พร้อม Check list 7 อาการที่ควรรู้ก่อนสาย [3]

 

ใครที่ควรทานอาหารเสริมซิงค์

  • ผู้ที่ขาดซิงค์จากอาหาร คนที่รับประทานอาหารไม่หลากหลาย เช่นผู้ที่ทานมังสวิรัติ หรือวีแกน อาจได้รับซิงค์ไม่เพียงพอ เนื่องจากแหล่งอาหารหลักของซิงค์ มักพบในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากนม
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซิงค์มีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ที่เจ็บป่วยบ่อย หรือเป็นหวัดง่าย อาจได้รับประโยชน์จากซิงค์ ในการช่วยป้องกันการติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีปัญหาผิวหนังและสิว ซิงค์ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ควบคุมการผลิตน้ำมัน และช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ผิว จึงเป็นสารอาหารสำคัญ สำหรับผู้ที่มีปัญหาสิว ผิวมัน หรือแผลเป็นจากสิว
  • เด็กและวัยรุ่น ที่กำลังเจริญเติบโต ซิงค์มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย การแบ่งเซลล์ และพัฒนาการของเด็ก หากขาดสังกะสี อาจทำให้การเจริญเติบโตชะลอลง
  • หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร สังกะสีมีบทบาทในการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ทั้งแม่และเด็ก อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนรับประทานอาหารเสริม
  • ผู้สูงอายุ คนสูงวัย มีแนวโน้มที่จะดูดซึมซิงค์ได้ลดลง และอาจมีปัญหาภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ควรได้รับซิงค์เสริม
  • ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ซิงค์มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเส้นผม และลดการหลุดร่วงของเส้นผม
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ แอลกอฮอล์อาจลดการดูดซึมซิงค์ของร่างกาย ทำให้ผู้ที่ดื่มบ่อย เสี่ยงต่อภาวะขาดสังกะสี
  • ผู้ที่มีปัญหาการเจริญพันธุ์ สังกะสีมีบทบาทสำคัญ ในการผลิตฮอร์โมนเพศ และช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้ชาย
Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง