Digestive Enzymes คือ เอนไซม์ย่อยที่จำเป็นไหม?

Digestive Enzymes คือ

Digestive Enzymes คือ กลุ่มของสารชีวภาพที่อยู่รอบตัวเรา แม้ว่าเราอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก แต่เอนไซม์เหล่านี้ กลับมีบทบาทสำคัญ ในกระบวนการพื้นฐานของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อกระบวนการในระบบย่อยอาหาร เพื่อเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน และสารอาหาร ที่ร่างกายนำไปใช้ได้

Digestive Enzymes คือ อะไร?

Digestive-Enzymes คือโปรตีนพิเศษ ที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ เอนไซม์เหล่านี้ ผลิตขึ้นโดยต่อมต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงตับอ่อน กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก

หน้าที่หลักของไดเจสทีฟเอนไซม์ คือการสลายโมเลกุลของอาหาร ให้เป็นขนาดเล็กลง เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น [1]

ไดเจสทีฟเอนไซม์มีอะไรบ้าง?

ไดเจสทีฟเอนไซม์แบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามหน้าที่ในการย่อยอาหาร ที่แตกต่างกัน ดังนี้

เอนไซม์ย่อยคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrases)

  • อะไมเลส (Amylase) สลายแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโตส
  • มอลเตส (Maltase) เปลี่ยนน้ำตาลมอลโตส ให้เป็นกลูโคส
  • ซูเครส (Sucrase) ย่อยน้ำตาลซูโครส เป็นกลูโคส และฟรุกโตส
  • แลกเตส (Lactase) ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม เป็นกลูโคส และกาแลคโตส

เอนไซม์ย่อยโปรตีน (Proteases หรือ Peptidases)

  • เพปซิน (Pepsin) ย่อยโปรตีนในกระเพาะอาหาร
  • ทริปซิน (Trypsin) ทำงานในลำไส้เล็ก ย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน
  • คีโมทริปซิน (Chymotrypsin) ย่อยโปรตีนต่อจากทริปซิน
  • ปาเปน (Papain) พบในมะละกอ ช่วยย่อยโปรตีน
  • โบรมีเลน (Bromelain) พบในสับปะรด ช่วยย่อยโปรตีน

เอนไซม์ย่อยไขมัน (Lipases)

  • ไลเปส (Lipase) สลายไขมันให้เป็นกรดไขมัน และกลีเซอรอล
  • ฟอสโฟไลเปส (Phospholipase) ย่อยไขมันประเภทฟอสโฟลิปิด
  • คอเลสเตอริลเอสเทอเรส (Cholesteryl esterase) ช่วยย่อยคอเลสเตอรอล

เอนไซม์เสริมการย่อยอื่นๆ

  • เซลลูเลส (Cellulase) ย่อยไฟเบอร์จากพืช ร่างกายมนุษย์ ไม่สามารถผลิตเองได้
  • ไอโซเมอเรส (Isomerase) เปลี่ยนโครงสร้างของน้ำตาลบางชนิด ให้ดูดซึมง่ายขึ้น
  • ดีออกซีไรโบนิวคลีเอส (Deoxyribonuclease – DNase) ช่วยสลายดีเอ็นเอจากอาหาร

ที่มา: What Are Digestive-Enzymes, and How Do They Work? [2]

อาหารธรรมชาติที่มีไดเจสทีฟเอนไซม์

Digestive Enzymes คือ

ไดเจสทีฟเอนไซม์สามารถพบได้ทั้งในอาหารธรรมชาติ และในรูปแบบอาหารเสริม อาหารที่อุดมไปด้วยเอนไซม์ย่อยอาหาร มีดังนี้

  • สับปะรด มีโบรมีเลน (Bromelain) ช่วยย่อยโปรตีน
  • มะละกอ มีปาเปน (Papain) ที่ช่วยย่อยโปรตีน
  • กะหล่ำปลีดอง (Kimchi/Sauerkraut) แหล่งของ โพรไบโอติกส์ และเอนไซม์ธรรมชาติ
  • โยเกิร์ต มีแลกเตส ที่ช่วยย่อยแลคโตส
  • กล้วย มีอะไมเลส และมอลเตส ที่ช่วยย่อยแป้ง

ประโยชน์ของไดเจสทีฟเอนไซม์

  • ช่วยย่อยอาหาร ไดเจสทีฟเอนไซม์ช่วยลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด และอาหารไม่ย่อย โดยการทำให้การย่อยอาหาร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เอนไซม์ย่อยอาหาร ทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ (Probiotics) เพื่อส่งเสริมสุขภาพลำไส้ ลดอาการอักเสบ และป้องกันภาวะลำไส้แปรปรวน (IBS)
  • เพิ่มการดูดซึมสารอาหาร การย่อยอาหารที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพได้ดีขึ้น
  • ลดการแพ้อาหาร บางคนมีปัญหาย่อยอาหารบางประเภท เช่นแลคโตส หรือกลูเตน ไดเจสทีฟเอนไซม์ช่วยลดอาการไม่สบายท้อง ที่เกิดจากการแพ้อาหารได้
  • ไดเจสทีฟเอนไซม์กับสุขภาพลำไส้ ไดเจสทีฟเอนไซม์มีบทบาทสำคัญ ต่อสุขภาพของลำไส้ การย่อยอาหารที่ดีช่วยลดการสะสมของสารพิษ และช่วยให้จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดปัญหาสุขภาพ เช่นอาการลำไส้แปรปรวน อาการอักเสบในลำไส้ และปัญหาท้องผูก

ใครที่ควรทานไดเจสทีฟเอนไซม์?

  • ผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อย เช่นท้องอืด แน่นท้อง เรอบ่อย หรือรู้สึกไม่สบายท้อง หลังมื้ออาหาร
  • ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่นโรคลำไส้แปรปรวน, โรคกรดไหลย้อน, ตับอ่อนอักเสบ หรือภาวะเอนไซม์ตับอ่อนบกพร่อง
  • ผู้สูงอายุ การผลิตเอนไซม์ลดลงตามอายุ ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารลดลง
  • ผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์เฉพาะชนิด เช่นผู้ที่แพ้แลคโตส อาจต้องใช้แลกเตสช่วยย่อย
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่ย่อยยากเป็นประจำ เช่นอาหารที่มีไขมันสูง โปรตีนสูง หรืออาหารแปรรูป ที่ทำให้ระบบย่อยทำงานหนักขึ้น
  • ผู้ที่เคยผ่าตัดเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่นการผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ อาจทำให้ร่างกายผลิตเอนไซม์ได้ลดลง
  • ผู้ที่ต้องการดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น เช่นผู้ที่ขาดสารอาหาร หรือมีปัญหาดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุ
  • นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายหนัก เนื่องจากต้องการการดูดซึมโปรตีน และสารอาหารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพลำไส้ เอนไซม์ช่วยลดการอักเสบในลำไส้ และปรับสมดุลจุลินทรีย์ ในทางเดินอาหาร

ข้อควรระวังไดเจสทีฟเอนไซม์

  • การแพ้หรืออาการข้างเคียง บางคนอาจมีอาการแพ้เอนไซม์ เช่นคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้อง หรือเกิดผื่นคัน ควรหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์หากมีอาการผิดปกติ
  • ปริมาณที่เหมาะสม ควรรับประทานตามปริมาณที่แนะนำ ไม่ควรใช้เกินขนาด เพราะอาจทำให้ระบบย่อยอาหารเสียสมดุล
  • โรคประจำตัว ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับตับอ่อน โรคลำไส้อักเสบ หรือระบบย่อยอาหารผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  • ปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ไดเจสทีฟเอนไซม์อาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่นยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin) หรือยารักษาโรคเบาหวาน
  • เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรใช้โดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากอาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหารของเด็ก และหญิงตั้งครรภ์
  • แหล่งที่มาของเอนไซม์ เอนไซม์บางชนิดสกัดจากสัตว์หรือพืช ควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการ
  • ผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร การใช้เป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายลดการผลิตเอนไซม์เอง ควรใช้เฉพาะเมื่อจำเป็น

สรุป ไดเจสทีฟเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร

ไดเจสทีฟเอนไซม์เป็นองค์ประกอบสำคัญ ของระบบย่อยอาหาร มีบทบาทช่วยย่อยอาหาร ปรับสมดุลลำไส้ และเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาทางเดินอาหาร เช่นอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และภาวะลำไส้แปรปรวน การรับประทานอาหารที่มีเอนไซม์ สามารถช่วยบำรุงสุขภาพโดยรวม

Digestive-Enzymes ควรกินตอนไหน?

  • ก่อนหรือพร้อมมื้ออาหาร: รับประทาน 1-2 แคปซูล ก่อนหรือพร้อมมื้ออาหารเช้าและเย็น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร และลดอาการท้องอืด
  • ก่อนอาหาร 30 นาที: สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ควรรับประทาน 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 30 นาที ในมื้อเช้า กลางวัน และเย็น เพื่อช่วยลดความอยากอาหาร
  • หลังมื้ออาหาร: ในกรณีที่รู้สึกแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร สามารถรับประทานเอนไซม์ช่วยย่อยได้ทันที เพื่อบรรเทาอาการ

ที่มา: ยาช่วยย่อย ควรกินตอนไหน [3]

 

ปัจจัยอะไร ที่มีผลต่อเอนไซม์ย่อย?

การทำงานของเอนไซม์ย่อยอาหาร มีปัจจัยหลายอย่าง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ย่อยอาหาร มีดังนี้

  • อุณหภูมิ (Temperature): เอนไซม์ย่อยอาหารทำงานได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิร่างกายปกติ หากอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์จะลดลง
  • ความเป็นกรด-เบส (pH): เอนไซม์ย่อยอาหารแต่ละชนิดมีค่า pH ที่เหมาะสมแตกต่างกัน เช่นเอนไซม์ในกระเพาะอาหารทำงานได้ดีในสภาพกรดที่ pH 1.5-2.5 ส่วนเอนไซม์ในลำไส้เล็ก ทำงานได้ดีในสภาพเบสที่ pH 7.5-8.5
  • ความเข้มข้นของเอนไซม์ และสารตั้งต้น: การเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์ หรือสารตั้งต้นจะเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง การเพิ่มความเข้มข้นจะไม่ส่งผลให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นอีก
  • สารยับยั้ง (Inhibitors) และสารกระตุ้น (Activators): สารยับยั้งสามารถลดหรือหยุดการทำงานของเอนไซม์ได้ ในขณะที่สารกระตุ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์
Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง