Berberine ประโยชน์ สารธรรมชาติ ช่วยลดน้ำตาล

Berberine ประโยชน์

Berberine ประโยชน์ ของสารจากธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่ถูกพูดถึงมากขึ้น ในวงการสุขภาพ และโภชนาการ โดยเฉพาะในกลุ่ม ผู้ที่กำลังมองหาทางเลือกจากธรรมชาติ ในการดูแลร่างกาย อย่างยั่งยืน ท่ามกลางกระแสของการกลับมาใส่ใจสุขภาพ ในยุคปัจจุบัน ทำให้สารจากพืชหลายชนิด ที่เป็นภูมิปัญญาโบราณ ได้รับการหยิบยกขึ้นมาศึกษาใหม่อีกครั้ง

  • เบอร์แบร์รินคืออะไร
  • เบอร์แบร์รินช่วยเรื่องอะไร
  • งานวิจัยเกี่ยวกับเบอร์แบร์ริน 

เบอร์แบร์รินคืออะไร?

Berberine ประโยชน์

เบอร์แบร์รินเป็นสารประกอบ ที่พบในพืชหลายชนิด เช่น European barberry, goldenseal และต้น turmeric สารนี้มีรสขม และมีสีเหลือง มีคุณสมบัติ ที่ช่วยเสริมสร้างการเต้นของหัวใจ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ควบคุมการใช้น้ำตาลในเลือด และลดการอักเสบ

ผู้คนมักใช้เบอร์แบร์ริน ในการรักษาโรคเบาหวาน ลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังมีการใช้สำหรับแผลร้อนใน การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และภาวะอื่นๆ [1]

Berberine ประโยชน์ ช่วยเรื่องอะไร?

  • Berberine ประโยชน์ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: เบอร์แบร์รินช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน ทำให้เซลล์ สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น และลดการผลิตกลูโคสในตับ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  • ลดไขมันในเลือด: มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ชนิดไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ พร้อมทั้งเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ชนิดที่ดี (HDL)
  • บำรุงหัวใจ หลอดเลือด และความดันโลหิต: เบอร์แบร์รินช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต โดยการขยายหลอดเลือด และป้องกันภาวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา: มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ แบคทีเรียหลายชนิดเช่น Helicobacter pylori ที่เป็นสาเหตุ ของโรคกระเพาะอาหาร ต้านเชื้อราเช่น Candida albicans และมีฤทธิ์ต้านไวรัสบางชนิด
  • ต้านการอักเสบ และสารต้านอนุมูลอิสระ: ช่วยลดการอักเสบ ภายในร่างกาย ซึ่งช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน และมะเร็ง รวมถึงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสียหายของเซลล์
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก: กระตุ้นการเผาผลาญไขมัน และช่วยลดการสะสม ของไขมันในร่างกาย ลดความอยากอาหาร และช่วยปรับสมดุล ของแบคทีเรียในลำไส้
  • มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง: การศึกษาบางส่วน พบว่าเบอร์แบร์ริน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต ของเซลล์มะเร็งบางชนิด

ที่มา: Berberine-เบอร์แบร์ริน [2]

งานวิจัยเบอร์แบร์ริน ลดน้ำตาลในเลือด

ผลการศึกษาเบอร์แบร์ริน ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้จริง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การศึกษานี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีเป้าหมาย เพื่อดูว่าเบอร์แบร์ริน สามารถใช้ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ได้จริงหรือไม่ และมีความปลอดภัยเพียงใด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ส่วนที่ 1 เปรียบเทียบกับยาเมทฟอร์มิน ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ยังไม่เคยรับการรักษา 36 คน ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับเบอร์แบร์ริน อีกกลุ่มได้รับยาเมทฟอร์มิน 3 เดือน ผลลัพธ์คือ เบอร์แบร์รินช่วยลดค่าควบคุม ระดับน้ำตาลสะสม จาก 9.5% เหลือ 7.5% ลดน้ำตาลขณะอดอาหาร และหลังอาหาร ลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ส่วนที่ 2 ใช้เสริมกับการรักษาเดิม ผู้ป่วยเบาหวานอีก 48 คนที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ได้รับเบอร์แบร์รินเสริม ร่วมกับยาปกติที่ใช้อยู่ ผลลัพธ์คือ ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ตั้งแต่สัปดาห์แรก ค่าควบคุมระดับน้ำตาลสะสม ลดจาก 8.1% เหลือ 7.3% ช่วยลดระดับอินซูลิน และความดื้อต่ออินซูลินได้ ลดคอเลสเตอรอลรวมและ LDL [3]

เบอร์แบร์รินปริมาณที่แนะนำ

เบอร์แบร์รินเป็นสารธรรมชาติ ที่มีการใช้ในการแพทย์แผนจีน และอายุรเวทมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในการจัดการระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยขนาดการใช้เบอร์แบร์รินที่แนะนำ ปริมาณ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ระยะเวลาต่อเนื่อง เป็นเวลา 2–3 เดือน

การแบ่งรับประทานเป็นมื้อย่อย ตลอดทั้งวัน ช่วยให้ร่างกายรักษาระดับยา ในกระแสเลือด อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

เบอร์แบร์รินข้อควรระวัง

  • อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่นท้องเสีย ท้องอืด คลื่นไส้
  • เลือกผลิตภัณฑ์ ที่ระบุชนิดของพืชที่ใช้ และความเข้มข้นของเบอร์แบร์รินต่อแคปซูล
  • เลือกแบรนด์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ เช่นมีการรับรองจากองค์กรอาหารและยา
  • ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ ที่ไม่มีข้อมูลแหล่งที่มา หรือไม่ได้แสดงรายละเอียดฉลาก อย่างชัดเจน

เบอร์แบร์รินกินคู่กับอะไรดี?

การทานอาหารเสริมเบอร์แบร์ริน กับสารอาหารอื่น ที่ทำงานเสริมฤทธิ์กัน จะช่วยให้ได้ผลดีขึ้น ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยแนะนำดังนี้

  • อัลฟา ไลโปอิกแอซิด (Alpha-lipoic acid) ช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน ลดภาวะดื้ออินซูลิน และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เสริมการทำงานของเบอร์แบร์รินได้ดี
  • แมกนีเซียม แมกนีเซียมมีบทบาท ในการเผาผลาญ glucose และทำงานร่วมกับอินซูลิน ผู้ที่มีภาวะเบาหวาน มักมีแมกนีเซียมต่ำ ควรเลือกแบบที่ดูดซึมดีเช่น Magnesium glycinate
  • โครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) ช่วยปรับปรุงการทำงานของอินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นิยมใช้ในสูตรอาหารเสริม สำหรับรักษาเบาหวาน
  • สารสกัดอบเชย (Cinnamon Extract) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร และเพิ่มความไวของอินซูลิน สามารถเสริมผลกับเบอร์แบร์รินได้
  • Fiber เช่น Glucomannan หรือ Psyllium husk ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ ลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร ควรรับประทานก่อนอาหาร ประมาณ 15-30 นาที

สรุป เบอร์แบร์รินควบคุมน้ำตาลในเลือด

เบอร์แบร์รินเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมน้ำหนัก หรือดูแลสุขภาพหัวใจ โดยใช้สารจากธรรมชาติ จากงานวิจัย และประสบการณ์ของผู้ใช้งานจริงทั่วโลก พบว่าเบอร์แบร์ริน มีผลดีต่อร่างกายโดยรวม และเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญ สำหรับการมีสุขภาพที่ดี ในระยะยาว

ใครที่ควรทานเบอร์แบร์ริน?

  • ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่นผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมีภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งต้องการทางเลือกเสริมจากธรรมชาติ ในการควบคุมระดับน้ำตาล
  • ผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เบอร์แบร์รินช่วยเพิ่มความไวของเซลล์ ต่ออินซูลิน มีประโยชน์ต่อกลุ่มที่มี Metabolic syndrome
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง สามารถช่วยลดระดับ LDL, ไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่ม HDL ได้
  • ผู้ที่มีความเสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจ การลดน้ำตาล และไขมันในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ในระยะยาว
  • ผู้ที่มีอาการถุงน้ำ ในรังไข่หลายใบ ช่วยลดระดับอินซูลิน และฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งสัมพันธ์กับอาการของ PCOS

ใครที่ไม่ควรทานเบอร์แบร์ริน?

  • หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร อาจส่งผลต่อทารก หรือเด็ก เนื่องจากไม่มีข้อมูลความปลอดภัย
  • ทารกและเด็กเล็ก เบอร์แบร์รินอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรง เช่นโรคตัวเหลืองในทารก
  • ผู้ที่ใช้ยาลดน้ำตาล หรือยาลดความดันโลหิต เบอร์แบร์รินอาจเสริมฤทธิ์ยา ทำให้น้ำตาลหรือลดความดันต่ำเกินไป ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือไตรุนแรง แม้เบอร์แบร์รินจะไม่แสดงผลกระทบชัดเจน ต่อตับหรือไตในคนทั่วไป แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรระวัง
  • ผู้ที่กำลังใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน เบอร์แบร์รินอาจรบกวนการทำงาน ของเอนไซม์ในตับ ที่ใช้ย่อยยา อาจทำให้ระดับยาบางชนิดในเลือดสูงขึ้น
Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง