โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ในด้านสุขภาพ และโภชนาการ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญ ในระบบต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ ตั้งแต่การควบคุมสมดุลของเหลว การทำงานของกล้ามเนื้อ ไปจนถึงการส่งสัญญาณ ในระบบประสาท บทความนี้จะพาไปรู้จัก กับสารอาหารชนิดนี้ให้มากขึ้น
โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุ ที่อยู่ในกลุ่ม electrolyte ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการรักษาสมดุลของของเหลวและ electrolyte ในร่างกาย โดยเป็นแร่ธาตุ ที่พบได้มากในเซลล์ของร่างกาย และทำงานร่วมกับโซเดียม เพื่อควบคุมแรงดัน Osmotic ระหว่างเซลล์ และของเหลว ภายนอกเซลล์
ที่มา: Potassium [1]
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) เกิดขึ้นเมื่อระดับโพแทสเซียมในเลือด ต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ของการขาดโพแทสเซียม อาการที่อาจเกิดขึ้น เมื่อร่างกายขาดโพแทสเซียม มีดังนี้
สาเหตุของภาวะนี้ อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียม ผ่านการอาเจียน หรือท้องเสียอย่างหนัก การใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยาระบายมากเกินไป รวมถึงโรคหรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ที่ส่งผลต่อระดับโพแทสเซียมในร่างกาย หากมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสม [2]
การรับประทานอาหาร ที่มีโพแทสเซียมสูง สามารถช่วยปรับระดับโพแทสเซียมในร่างกาย ให้กลับสู่ปกติได้ อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่
ที่มา: โพแทสเซียมต่ำ ควรกินอะไร [3]
โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่มีบทบาทในการรักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ และระบบประสาท โดยปริมาณโพแทสเซียม ที่แนะนำต่อวัน มีดังนี้
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) เป็นภาวะที่ระดับโพแทสเซียมในเลือด สูงกว่าเกณฑ์ปกติ (มากกว่า 5.0 mEq/L) ซึ่งอาจส่งผล ต่อการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ รวมถึงระบบหัวใจ และหลอดเลือด อาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง มีดังนี้
โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุ ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อสุขภาพในหลายด้าน ตั้งแต่การรักษาสมดุลของเหลว ความดันโลหิต การส่งสัญญาณประสาท การทำงานของกล้ามเนื้อ การได้รับโพแทสเซียมอย่างเพียงพอ จากแหล่งอาหารธรรมชาติ ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการดูแลสุขภาพ