โครเมียม พิโคลิเนต กับการช่วยคุมน้ำตาลในเลือด

โครเมียม พิโคลิเนต

โครเมียม พิโคลิเนต เป็นชื่อที่หลายคนอาจเคยผ่านหู หรือเห็นตามฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหลายชนิด โดยเฉพาะในกลุ่ม ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำหนัก หรือระดับน้ำตาลในเลือด บทบาทของโครเมียมพิโคลิเนต ไม่ได้มีแค่เรื่องควบคุมน้ำหนัก หรือน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายโดยรวมอีกด้วย

  • โครเมียมพิโคลิเนต คืออะไร
  • โครเมียมพิโคลิเนตช่วยอะไร
  • แหล่งอาหารอะไร ที่มีโครเมียม

โครเมียม พิโคลิเนต คืออะไร?

โครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) เป็นรูปแบบแร่ธาตุโครเมียม ที่ผ่านกระบวนการเชื่อมกับกรดพิโคลินิก (Picoclinic acid) เพื่อเพิ่มการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เมื่อเทียบกับรูปแบบโครเมียมทั่วไป โครเมียมพิโคลิเนตจึงเป็นรูปแบบ ที่นิยมนำมาใช้ในอาหารเสริมมากที่สุด โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ สำหรับควบคุมน้ำตาลในเลือด และช่วยเผาผลาญไขมัน

โครเมียมเป็นแร่ธาตุจำเป็นในปริมาณน้อย ที่มีบทบาทสำคัญ ในระบบเผาผลาญของร่างกาย โดยเฉพาะกระบวนการทำงาน ของอินซูลิน ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โครเมียมช่วยเพิ่มความไวของเซลล์ต่ออินซูลิน

ส่งผลให้ร่างกาย สามารถนำกลูโคสจากเลือด เข้าไปใช้ในเซลล์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ โครเมียมยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ซึ่งมีผลต่อการ ควบคุมน้ำหนัก และพลังงานโดยรวม

โครเมียมพิโคลิเนตช่วยอะไร?

  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การศึกษาหลายชิ้น พบว่าโครเมียมพิโคลิเนต มีประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ขณะอดอาหาร (Fasting Blood Sugar) และอาจช่วยปรับปรุงการทำงาน ของอินซูลินในร่างกาย
  • ช่วยการลดน้ำหนัก มีการใช้โครเมียมพิโคลิเนต ในผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เนื่องจากมีการศึกษา ที่ชี้ว่าการรับประทานโครเมียม อาจช่วยลดความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารหวาน ลดความหิวระหว่างมื้อ และเพิ่มประสิทธิภาพ การเผาผลาญพลังงาน
  • เสริมสมดุลเมตาบอลิซึม โครเมียมช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสะสมของไขมัน ในร่างกาย และรักษาระดับคอเลสเตอรอล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • เพิ่มระดับเซโรโทนิน (Serotonin) โครเมียมพิโคลิเนต ช่วยเพิ่มความไวของเซลล์ ต่ออินซูลิน ซึ่งส่งผลให้มีการขนส่งทริปโตเฟน เข้าสู่ระบบประสาทกลางมากขึ้น ทริปโตเฟนเป็นสารตั้งต้น ในการสร้างเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ ​
  • ลดกิจกรรมของตัวรับ 5-HT2A โครเมียมพิโคลิเนตอาจลดกิจกรรม ของตัวรับเซโรโทนินชนิด 5-HT2A ซึ่งการกระตุ้นตัวรับนี้ มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยง ที่เพิ่มขึ้นของภาวะซึมเศร้า

ที่มา: The Health Benefits of Chromium Picolinate [1]

 

แหล่งอาหารอะไร ที่มีโครเมียม?

โครเมียม พิโคลิเนต

แม้ว่าโครเมียม จะพบได้ในอาหารหลากหลายประเภท แต่ปริมาณที่มี ในแต่ละแหล่งค่อนข้างต่ำ แหล่งอาหารที่พบโครเมียม ได้แก่

  • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่นข้าวกล้อง ข้าวสาลีไม่ขัดสี
  • ผักใบเขียว เช่น Broccoli ผักโขม
  • ผลไม้ เช่นแอปเปิล องุ่น ส้ม
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ตับ ไข่
  • ยีสต์ โดยเฉพาะ Brewer’s Yeast ซึ่งเป็นแหล่งที่มีโครเมียมสูง

ข้อควรระวังการใช้โครเมียมพิโคลิเนต

  • ไม่ควรใช้เกินขนาดที่แนะนำ ปริมาณโครเมียมพิโคลิเนต ที่ปลอดภัย โดยทั่วไปอยู่ที่ ไม่เกิน 200-1000 ไมโครกรัมต่อวัน การรับประทานในปริมาณสูงกว่าคำแนะนำ อาจเพิ่มความเสี่ยง ความเป็นพิษต่อตับ และไต หรือเกิด ความเสียหายของ DNA จากการเกิดอนุมูลอิสระ
  • ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคตับ หรือโรคไต ผู้ที่มี ประวัติแพ้ยีสต์ เนื่องจากบางผลิตภัณฑ์ ใช้โครเมียมจากยีสต์ อาจเกิดอาการแพ้ ผู้ที่มีภาวะโรคทางจิตเวช หรือใช้ยาเกี่ยวกับ ระบบประสาท ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมีรายงานบางกรณี ที่โครเมียมส่งผลต่อสารสื่อประสาท
  • ไม่ควรใช้ร่วมกับยาบางชนิด ยารักษาเบาหวาน (เช่น Metformin หรือ Insulin) อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) อาจเพิ่มความเสี่ยง ต่อการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และยาเบาหวานจากธรรมชาติ อาจเสริมฤทธิ์กัน จนระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • สตรีมีครรภ์ หรือให้นมบุตร ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ของการใช้โครเมียมพิโคลิเนต ในหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยง หรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ใครที่ควรกินโครเมียมพิโคลิเนต

  • ผู้ที่มีปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดไม่สมดุล เช่นผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน หรือเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โครเมียมช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น
  • ผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก หรือมีความอยากน้ำตาลสูง มีการศึกษาเบื้องต้นว่า โครเมียมลดความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหาร ประเภทคาร์โบไฮเดรต ช่วยเสริมการควบคุมน้ำหนัก ควบคู่กับการออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีการเผาผลาญผิดปกติ เช่นมีปัญหาการเผาผลาญไขมันต่ำ หรือระดับคอเลสเตอรอลสูง
  • ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีแนวโน้มขาดโครเมียม ผู้สูงวัยอาจดูดซึมแร่ธาตุได้น้อยลง จึงอาจได้รับโครเมียมจากอาหารไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพจิต มีรายงานว่าโครเมียม ช่วยลดอาการของภาวะซึมเศร้าแบบไม่ปกติได้ในบางกรณี

ใครที่ไม่ควรกินโครเมียมพิโคลิเนต

  • ผู้ที่เป็นโรคตับ หรือโรคไต โครเมียมในปริมาณมาก อาจเพิ่มภาระต่อการทำงานของตับและไต
  • หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยง หรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  • ผู้ที่ใช้ยาควบคุมน้ำตาลในเลือด เช่น insulin, metformin หรือยาเบาหวานจากสมุนไพร การใช้ร่วมกัน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • ผู้ที่มีภาวะทางจิตเวชเช่น ซึมเศร้าหนัก ไบโพลาร์ หรือโรคจิตเภท เนื่องจากโครเมียมอาจส่งผลต่อสารสื่อประสาท ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้โลหะ หรือผลิตภัณฑ์จากยีสต์ เพราะโครเมียมบางชนิด สกัดจากยีสต์ หรืออาจกระตุ้นการแพ้
  • ผู้ที่เคยมีประวัติผลข้างเคียงจากโครเมียม เช่นคลื่นไส้ ปวดหัว ท้องเสีย ผื่นแพ้ อารมณ์แปรปรวน หรืออาการผิดปกติด้านตับไต

สรุป โครเมียมพิโคลิเนตแร่ธาตุดูดซึมง่าย

โครเมียมพิโคลิเนตเป็นแร่ธาตุ ในรูปแบบที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี และมีบทบาทสำคัญ ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของอินซูลิน และอาจช่วยในการลดน้ำหนักในบางราย อย่างไรก็ตาม ควรใช้ควบคู่กับพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่นการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ

ผลข้างเคียงโครเมียมพิโคลิเนต

  • ปวดศีรษะ: บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ ระหว่างการใช้โครเมียมพิโคลิเนต ​
  • ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ: อาจทำให้เกิดปัญหาในการนอนหลับ หรือการนอนไม่หลับ ​
  • อารมณ์แปรปรวน: บางรายอาจรู้สึกหงุดหงิด หรือมีการเปลี่ยนแปลง ทางอารมณ์ ​
  • ปัญหาทางเดินอาหาร: อาจเกิดอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย หรืออาเจียน ​
  • ปัญหาตับหรือไต: การใช้ในปริมาณสูง อาจเกี่ยวข้องกับความเสียหายต่อตับหรือไต

ที่มา: Chromium Picolinate: Health Benefits, How to Take & Side Effects [2]

 

โครเมียมพิโคลิเนตกินตอนไหน?

โครเมียมพิโคลิเนตควรรับประทานพร้อมอาหาร หรือหลังมื้ออาหาร เพื่อช่วยในการดูดซึม และลดความเสี่ยง ต่อการระคายเคืองกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน ในช่วงเย็น หรือก่อนนอน เนื่องจากอาจส่งผล ต่อการนอนหลับ

สำหรับผู้ที่ใช้ยารักษาโรคเบาหวาน หรือยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทานโครเมียมพิโคลิเนต เนื่องจากอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มความเสี่ยง ต่อภาวะน้ำตาลต่ำ [3]

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง