แอลไทโรซีน ช่วยอะไร สารสำคัญที่ทำให้ตื่นตัว

แอลไทโรซีน ช่วยอะไร

แอลไทโรซีน ช่วยอะไร คำถามที่หลายคนอาจเริ่มสงสัย เมื่อได้ยินชื่อของกรดอะมิโนชนิดนี้ ซึ่งแม้จะไม่คุ้นหู เท่ากับวิตามิน หรือสารอาหารอื่นๆ แต่แอลไทโรซีน กลับมีบทบาทสำคัญในร่างกาย โดยเฉพาะในวันที่เราต้องการความตื่นตัว สมาธิ ในการเริ่มต้นวันใหม่ เพราะแอลไทโรซีนเกี่ยวข้องกับสมอง และความเครียด หรือแม้แต่การลดอาการง่วง

กรดอะมิโน L-Tyrosine คืออะไร?

แอลไทโรซีนคือกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายสามารถผลิตได้เอง จากกรดอะมิโนอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฟีนิลอะลานีน จัดอยู่ในกลุ่มกรดอะมิโนไม่จำเป็น (non-essential amino acid) แต่อาจกลายเป็นสิ่งจำเป็น ในบางสถานการณ์ เช่นช่วงที่ร่างกายเครียด มีภาวะอดนอน หรือใช้สมองอย่างหนัก

หน้าที่หลักของแอลไทโรซีน คือการเป็นสารตั้งต้น ในการผลิตสารสื่อประสาท ได้แก่โดพามีน (Dopamine), นอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งทั้งหมดมีบทบาทต่ออารมณ์ ความตื่นตัว และความสามารถ ในการจัดการกับความเครียด

การทาน แอลไทโรซีน ช่วยอะไร

  • แอลไทโรซีน ช่วยอะไร แอลไทโรซีนช่วยเพิ่มสมาธิ และความตื่นตัว มีส่วนช่วยกระตุ้นการผลิตโดพามีน และนอร์เอพิเนฟรีน ซึ่งช่วยเสริมความตื่นตัว ลดความเหนื่อยล้า เหมาะสำหรับคนที่ต้องใช้สมองตลอดเวลา เช่นคนทำงานสายวิชาการ พนักงานออฟฟิศ หรือนักศึกษา
  • บำรุงสมอง ระบบประสาท ส่งเสริมการทำงานของสมองในช่วงเครียด มีงานวิจัยหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่าแอลไทโรซีน สามารถช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น ภายใต้ภาวะความเครียด เช่นเวลานอนไม่พอ หรืออยู่ในสถานการณ์ ที่มีแรงกดดันสูง
  • เสริมอารมณ์ให้สมดุล แอลไทโรซีนมีบทบาท ในกระบวนการผลิตโดพามีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้สึกพึงพอใจ จึงอาจช่วยลดอาการซึมเศร้า และส่งเสริมอารมณ์ ให้มั่นคงขึ้น
  • อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การออกกำลังกาย ด้วยความสามารถ ในการกระตุ้นสารสื่อประสาท แอลไทโรซีนช่วยให้ผู้ที่ออกกำลังกาย รู้สึกมีพลังมากขึ้น และทนต่อความเหนื่อยได้ดีขึ้น

ที่มา: Tyrosine: Benefits, Side Effects and Dosage [1]

แหล่งอาหารอะไรที่มีแอลไทโรซีน?

แอลไทโรซีน ช่วยอะไร

แอลไทโรซีนสามารถพบได้ตามธรรมชาติ ในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น

  • เนื้อสัตว์ เช่นเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และปลา เป็นแหล่งโปรตีน ที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโน ที่จำเป็น รวมถึงแอลไทโรซีน ในปริมาณสูง
  • ผลิตภัณฑ์จากนม เช่นนมสด โยเกิร์ต ชีส มีโปรตีนสูง โดยเฉพาะเคซีน และเวย์โปรตีน ซึ่งมีไทโรซีนเป็นส่วนประกอบ
  • ไข่ ไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่สมบูรณ์ ให้กรดอะมิโนครบถ้วน และมีไทโรซีนตามธรรมชาติ
  • ถั่ว และเมล็ดพืช เช่นถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน งาดำ นอกจากให้โปรตีนแล้ว ยังให้ไขมันดี และไฟเบอร์
  • ธัญพืชไม่ขัดสี เช่นข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต แม้จะมีแอลไทโรซีน ไม่สูงเท่ากลุ่มเนื้อสัตว์ แต่ก็เป็นแหล่งเสริมเพิ่มเติมที่ดี โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ทานอาหารมังสวิรัติ
  • อาหารหมักบางชนิด เช่นเทมเป้ หรือถั่วหมักญี่ปุ่น มีการย่อยโปรตีนบางส่วน ทำให้ร่างกายดูดซึมกรดอะมิโนได้ดีขึ้น รวมถึงแอลไทโรซีน

ไทโรซีนช่วยลดอาการง่วงยังไง?

แอลไทโรซีนได้รับความสนใจในกลุ่มอาหารเสริม สำหรับผู้ที่ต้องการตื่นตัว โดยไม่ต้องพึ่งคาเฟอีน หรือสารกระตุ้นแรงๆ ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่มีภาวะง่วงกลางวัน สมาธิหลุดง่าย หรือทำงานหนัก จนสมองล้า โดยบทบาทของแอลไทโรซีน ในการลดอาการง่วง มีดังนี้

  • สารตั้งต้นของสารสื่อประสาท: แอลไทโรซีนมีบทบาทสำคัญ ในการสร้าง โดพามีน และ นอร์เอพิเนฟริน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ที่เกี่ยวข้องกับความตื่นตัว สมาธิ และการตอบสนองของสมอง
  • เพิ่มความสามารถในการโฟกัส: ในช่วงเวลาที่สมองล้า หรือร่างกายอ่อนเพลีย เช่นหลังนอนไม่พอ หรืออยู่ในภาวะเครียด แอลไทโรซีนอาจช่วยให้เรารักษาความตื่นตัวได้ดีขึ้น
  • ไม่ทำให้ใจสั่น: ต่างจากคาเฟอีน แอลไทโรซีนไม่กระตุ้นหัวใจ หรือความดันโลหิตมากนัก จึงเหมาะกับคนที่แพ้คาเฟอีน หรือหลีกเลี่ยงการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางแรงๆ

ตัวอย่างอาหารเสริมแอลไทโรซีน

  • อาหารเสริมเพิ่มสมาธิ (Focus Supplements): มักผสมแอลไทโรซีนกับสารอื่นๆ เช่นแอลธีอะนีน, คาเฟอีนในปริมาณต่ำ และ Rhodiola Rosea
  • Pre-Workout Supplements: สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายตอนเช้า และต้องการความสดชื่น ก่อนการฝึก
  • Mood Support Supplements: บางสูตรใช้แอลไทโรซีน ร่วมกับวิตามินบีรวม เพื่อช่วยควบคุมอารมณ์

ข้อควรระวังในการเสริมไทโรซีน

  • ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) หรือโรคคอพอกเป็นพิษ แอลไทโรซีนเป็นสารตั้งต้น ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ หากร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์สูงอยู่แล้ว การเสริมไทโรซีน อาจยิ่งกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนสูงขึ้น จนเกิดอันตราย
  • ผู้ที่ใช้ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม MAOIs การเสริมแอลไทโรซีนร่วมกับยา MAOIs (Monoamine Oxidase Inhibitors) อาจทำให้ระดับนอร์เอพิเนฟรีน ในร่างกายพุ่งสูงเกินไป จนนำไปสู่ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง
  • ผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูง แอลไทโรซีนอาจกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หรือความดันสูงขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยง หรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  • อาจมีผลข้างเคียงในบางรายได้แก่ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ วิงเวียน ใจสั่น หรือกระวนกระวาย โดยเฉพาะหากใช้ในปริมาณมาก หรือร่างกายไวต่อสารกระตุ้น
  • ไม่ควรใช้ติดต่อกัน เป็นเวลานาน โดยไม่มีคำแนะนำจากแพทย์ การใช้แอลไทโรซีนเสริม ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจรบกวนสมดุล ของสารสื่อประสาทในสมองได้ ในระยะยาว

สรุป ไทโรซีน สำคัญต่อสมอง

แอลไทโรซีนคือกรดอะมิโน ที่มีความสำคัญต่อสมอง และระบบประสาท โดยเฉพาะในการผลิตสารสื่อประสาท ที่ช่วยให้เราตื่นตัว มีสมาธิ และตอบสนองต่อความเครียดได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมสมาธิ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือทำงานหนัก

ผลข้างเคียงไทโรซีนมีอะไรบ้าง?

  • ระบบทางเดินอาหาร: อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือไม่สบายท้องได้
  • ระบบประสาท: บางคนอาจรู้สึกปวดศีรษะ เหนื่อยล้า หรือมีอารมณ์แปรปรวน หลังจากรับประทานไทโรซีน
  • การระคายเคืองต่อผิวหนัง และดวงตา: การสัมผัสไทโรซีนในรูปแบบผง หรือสารเคมี อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และดวงตาได้
  • ผลต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือด: ในบางกรณี การบริโภคไทโรซีน อาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว หรือความดันโลหิตสูงขึ้นได้

ที่มา: ไทโรซีน (Tyrosine) [2]

 

ควรทานแอลไทโรซีนตอนไหน?

เวลาที่เหมาะสม ในการรับประทานแอลไทโรซีนคือ ก่อนทำกิจกรรม ที่ต้องใช้สมาธิหรือความตื่นตัว การรับประทานแอลไทโรซีนประมาณ 30-60 นาทีก่อนทำกิจกรรม ที่ต้องการความตื่นตัวสูง เช่นการทำงานที่ซับซ้อน การศึกษา หรือการออกกำลังกายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงาน และลดความเหนื่อยล้า

หรือรับประทานขณะอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ หากมีการนอนหลับไม่เพียงพอ การรับประทานแอลไทโรซีน ช่วยให้ตื่นตัว และมีสมาธิมากขึ้นในระหว่างวัน

ปริมาณการรับประทานแอลไทโรซีนที่เหมาะสม อาจแตกต่างกันไปตามบุคคล และวัตถุประสงค์ของการใช้ โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 500-2000 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้ควรเริ่มจากขนาดต่ำสุดก่อน [3]

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง