แอลไทโรซีน ความสำคัญ คุณประโยชน์ต่อร่างกาย

แอลไทโรซีน

แอลไทโรซีน เป็นหนึ่งในกรดอะมิโน ที่มีบทบาทสำคัญ ต่อการทำงานของร่างกาย และจิตใจ แม้ว่าร่างกายของเราจะสามารถผลิตแอลไทโรซีนได้เอง แต่คุณสมบัติที่โดดเด่น และประโยชน์มากมายของมัน ทำให้กรดอะมิโนชนิดนี้ ได้รับความสนใจ ในด้านสุขภาพ และโภชนาการอย่างกว้างขวาง

แอลไทโรซีน อันตรายหรือไม่

แอลไทโรซีนถือว่าปลอดภัย เมื่อรับประทาน ในปริมาณที่เหมาะสม แต่การใช้ในรูปแบบอาหารเสริมที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่นมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือมีปฏิกิริยากับยา ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ ก่อนการเริ่มรับประทาน ในรูปแบบอาหารเสริม

แอลไทโรซีน (L-Tyrosine) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่ไม่จำเป็น (non-essential amino acid) ซึ่งหมายความว่าร่างกายสามารถผลิตได้เอง จากกรดอะมิโนอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Phenylalanine แอลไทโรซีนเป็นสารตั้งต้นสำคัญ สำหรับการสร้างสารเคมี ที่เกี่ยวข้องกับสมอง และระบบประสาท [1]

แอลไทโรซีน ช่วยเรื่องอะไร มีประโยชน์ต่อด้านไหนบ้าง

  • แอลไทโรซีนช่วยการสนับสนุนระบบต่อมไทรอยด์ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ เช่นภาวะไทรอยด์ต่ำ การเสริมแอลไทโรซีน ช่วยการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้
  • การผลิตสารสื่อประสาทเช่น Dopamine เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ แรงจูงใจ และความสามารถในการรับรู้ Norepinephrine และ Adrenaline ช่วยในระบบตอบสนองต่อความเครียด (fight or flight response)
  • การสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) แอลไทโรซีนมีส่วนช่วยในการผลิตเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ทำให้ผิวหนัง ผม และดวงตามีสี
  • การลดความเครียด และเพิ่มสมาธิ การเสริมแอลไทโรซีน สามารถช่วยลดผลกระทบ จากความเครียดต่อสมอง เพิ่มความสามารถในการทำงานที่ซับซ้อน ภายใต้สภาวะกดดัน
  • ส่งเสริมสุขภาพสมอง แอลไทโรซีนช่วยปรับปรุงอารมณ์ เพิ่มสมาธิ และความจำ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการตัดสินใจ

ที่มา: L-ไทโรซีน [2]

 

L-tyrosine ควรทานตอนไหน

ช่วงเวลาที่แนะนำ ในการรับประทานแอลไทโรซีน คือตอนท้องว่าง การรับประทานแอลไทโรซีนในช่วงท้องว่าง เช่นก่อนอาหารเช้า หรือระหว่างมื้ออาหาร จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น เนื่องจากไม่มีการแข่งขันกับกรดอะมิโนอื่นๆ จากอาหารที่รับประทาน

หรือทานก่อนกิจกรรม ที่ต้องใช้สมาธิหรือความตื่นตัว หากต้องการเพิ่มสมาธิ หรือความตื่นตัว เช่นก่อนการทำงานที่ต้องใช้ความคิด หรือก่อนการออกกำลังกาย การรับประทานแอลไทโรซีนประมาณ 30-60 นาทีก่อนกิจกรรม อาจช่วยเสริมประสิทธิภาพได้ [3]

แอลไทโรซีน จะพบได้ในอาหารประเภทไหน

แอลไทโรซีน

แอลไทโรซีนเป็นกรดอะมิโน ที่พบได้ในอาหารหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง ปริมาณแอลไทโรซีนในอาหารแต่ละชนิด อาจแตกต่างกัน ตัวอย่างอาหารที่มีแอลไทโรซีน และปริมาณโดยประมาณต่อ 100 gram ได้แก่

  • เนื้อสัตว์และปลา: เนื้อไก่ เนื้อวัว และปลา มีปริมาณแอลไทโรซีนประมาณ 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อ 100 gram
  • ผลิตภัณฑ์นม: ชีส โยเกิร์ต และนม มีปริมาณแอลไทโรซีนประมาณ 500-900 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
  • ถั่วและเมล็ดพืช: อัลมอนด์ Walnut เมล็ดฟักทอง และเมล็ดงา มีปริมาณแอลไทโรซีนประมาณ 600-1,200 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
  • ธัญพืช: ข้าวโอ๊ต และข้าวสาลี มีปริมาณแอลไทโรซีน 300-500 มิลลิกรัม/100 g.
  • ไข่: มีปริมาณแอลไทโรซีน 500 มิลลิกรัม/100 g.

การบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูง จะช่วยให้ร่างกายได้รับแอลไทโรซีนในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตาม ปริมาณแอลไทโรซีนในอาหาร อาจแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา และวิธีการเตรียมอาหาร ดังนั้น ควรบริโภคอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล

การใช้แอลไทโรซีนในรูปแบบอาหารเสริม

การใช้แอลไทโรซีนในรูปแบบอาหารเสริม ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ และความต้องการเฉพาะของบุคคล โดยปริมาณที่แนะนำทั่วไป ได้แก่

  • สำหรับการเสริมการทำงานของสมอง และเพิ่มสมาธิ ควรทานปริมาณ500-2,000 milligrams per day ควรรับประทานในช่วงท้องว่าง เพื่อการดูดซึมที่ดีที่สุด เช่นก่อนอาหารเช้า หรือระหว่างมื้ออาหาร
  • สำหรับการลดความเครียด หรือรองรับสภาวะที่มีแรงกดดันสูง ควรทานปริมาณ 500-1,500 milligrams per day ในช่วงเวลา 30-60 นาทีก่อนทำกิจกรรมที่มีความเครียด หรือใช้สมอง
  • สำหรับการสนับสนุนการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทานปริมาณ 500-1,000 mg. ต่อวัน และควรอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาด้านไทรอยด์

แอลไทโรซีนสามารถทานร่วมกับอาหารเสริม มาคา (Maca) จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ และปรับสมดุลฮอร์โมน หรือทานร่วมกับ อีฟนิ่งพริมโรส (Evening Primrose) ที่อุดมไปด้วยกรดไขมันแกมมาไลโนเลนิก (GLA) ช่วยลดอาการฮอร์โมนไม่สมดุล 

ผลข้างเคียงและข้อควรระวังการใช้แอลไทโรซีน

แม้ว่าแอลไทโรซีนจะถือว่าปลอดภัยในคนส่วนใหญ่ แต่การบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป หรือในรูปแบบอาหารเสริม ไม่ควรเกิน 12 กรัมต่อวัน หากทานมากเกินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังนี้

ผลข้างเคียง

  • ระบบทางเดินอาหาร: คลื่นไส้ อาการปวดท้องหรือท้องเสีย
  • ระบบประสาท: ปวดศีรษะ รู้สึกกระวนกระวาย หรือกระสับกระส่ายในบางคน
  • ความดันโลหิต: ในบางกรณีอาจส่งผลต่อความดันโลหิต โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
  • อาการอื่นๆ: มีอาการอ่อนเพลีย อาการแพ้ เช่น ผื่นคัน (ในกรณีที่แพ้สารนี้)


ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือโรคคอพอกตาโปน: แอลไทโรซีนช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้อาการของโรคไทรอยด์รุนแรงขึ้น
  • ผู้ที่ใช้ยาบางชนิด: แอลไทโรซีนอาจมีปฏิกิริยากับยา เช่นยากลุ่ม MAOIs (Monoamine Oxidase Inhibitors) ที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้า และยา Levodopa ที่ใช้รักษาโรค Parkinson
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย ในระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตรยังไม่เพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • การบริโภคเกินขนาด: การบริโภคแอลไทโรซีนในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรง และเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ

สรุป แอลไทโรซีน Amino acids สำคัญต่อร่างกาย

แอลไทโรซีนเป็นกรดอะมิโน ที่มีความสำคัญต่อร่างกายในหลายด้าน ตั้งแต่การสนับสนุนการทำงานของสมอง และระบบประสาท ไปจนถึงการสร้างฮอร์โมน และสารสื่อประสาท การรับแอลไทโรซีนจากอาหารหรือเสริมในปริมาณที่เหมาะสม สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Wellness Whisperer
Wellness Whisperer

แหล่งอ้างอิง