สารสกัดกระเทียม พืชสมุนไพร เพื่อบำรุงหัวใจ

สารสกัดกระเทียม

สารสกัดกระเทียม (Garlic Extract) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระเทียม ซึ่งเป็นพืชสมุนไพร ที่มีประวัติการใช้งานยาวนานหลายพันปี ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ ที่ใช้ในการรักษาโรค และเสริมสร้างสุขภาพ จนถึงยุคปัจจุบัน สารสกัดกระเทียมยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในฐานะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

เนื่องจากอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ ทางชีวภาพ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งการเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง สนับสนุนการทำงาน ของระบบไหลเวียนโลหิต ความนิยมในสารสกัดกระเทียม ยังมาจากคุณค่าทางโภชนาการ และประสิทธิภาพ ในการดูแลสุขภาพโดยรวม อย่างหลากหลายอีกด้วย

องค์ประกอบทางเคมี สารสกัดกระเทียม

สารสกัดกระเทียม

สารสกัดกระเทียมประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิด เช่น

  • อัลลิซิน (Allicin): สาระสำคัญที่เกิดขึ้น เมื่อกระเทียมถูกบด หรือหั่น ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ระหว่างเอนไซม์ Alliinase กับ อัลลิอิน Alliin มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ เช่นแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
  • ซัลเฟอร์ (Sulfur): เป็นแร่ธาตุที่พบมากในกระเทียม ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ล้างสารพิษในตับ ส่งเสริมการผลิต กลูตาไธโอน (Glutathione) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ
  • กรดอะมิโน (Amino Acids): เป็นส่วนประกอบสำคัญ ในการสร้างโปรตีน ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆ
  • เอนไซม์ (Enzymes): ช่วยกระตุ้นกระบวนการ เผาผลาญอาหารในร่างกาย ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • วิตามิน B6: ช่วยบำรุงสมอง และระบบประสาท เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • วิตามิน C: สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันเซลล์ จากความเสียหาย ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง
  • ซีลีเนียม (Selenium): ช่วยป้องกันการอักเสบ ส่งเสริมการทำงานของต่อมไทรอยด์ และเพิ่มประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระ
  • แมงกานีส (Manganese): ส่งเสริมการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และกระดูก ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และกระบวนการเผาผลาญ

ประโยชน์ต่อสุขภาพ สารสกัดกระเทียม

  • ลดความดันโลหิต สารสกัดกระเทียมมีคุณสมบัติ ในการขยายหลอดเลือด และลดความดันโลหิต ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
  • ลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LDL และเพิ่มระดับ HDL ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือด
  • ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ สารอัลลิซินช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ และลดการอักเสบในร่างกาย ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน และมะเร็ง
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ในการต่อสู้กับเชื้อโรค ลดโอกาสการติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดและหวัดใหญ่
  • บำรุงสุขภาพหัวใจ ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (Atherosclerosis) และลดความเสี่ยง ของโรคหัวใจขาดเลือด
  • ป้องกันการเติบโตของเชื้อโรค มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสหลายชนิด ส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร และลดปัญหา เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
  • เสริมสมรรถภาพทางกาย และลดความเมื่อยล้า ในอดีต กระเทียมถูกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง สำหรับนักกีฬา และแรงงาน เพราะช่วยเพิ่มพลังงาน และลดความเมื่อยล้า

ที่มา: ประโยชน์ของสารสกัดจากกระเทียม (Garlic Extract) [1]

 

กิน สารสกัดกระเทียม ตอนไหนดีที่สุด

การรับประทานสารสกัดกระเทียม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ของผลิตภัณฑ์ หรือคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร เนื่องจากปริมาณ และเวลาที่เหมาะสม อาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบของสารสกัด และวัตถุประสงค์ในการใช้ อย่างไรก็ตาม มีแนะนำในการรับประทานกระเทียมสด หรือสารสกัดกระเทียม ดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานตอนท้องว่าง: เนื่องจากกระเทียมมีฤทธิ์ร้อน การรับประทานตอนท้องว่าง อาจทำให้แสบกระเพาะอาหาร ควรรับประทานพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารจะดีกว่า
  • ปริมาณที่เหมาะสม: สำหรับการรับประทานกระเทียมสด ควรจำกัดปริมาณไม่เกิน 1-2 กลีบต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง ต่อระบบทางเดินอาหาร
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือใช้ยาประจำ: ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนรับประทานสารสกัดกระเทียม โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากกระเทียมอาจเสริมฤทธิ์ยา และทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงสุด ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเริ่มรับประทานสารสกัดกระเทียม และปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับ อย่างเคร่งครัด [2]

ปริมาณ สารสกัดกระเทียม ที่แนะนำ

แนวทางทั่วไป สำหรับปริมาณ การรับประทานสารสกัดกระเทียม ในแต่ละวัน ดังนี้

  • ผงกระเทียมสกัดแห้ง: แนะนำให้รับประทาน 400 – 1200 มิลลิกรัม ต่อวัน
  • น้ำมันกระเทียม: แนะนำให้รับประทาน 2 – 5 มิลลิกรัมต่อวัน
  • สารสกัดกระเทียม: สำหรับสารสกัดกระเทียม (เช่น Kyolic) แนะนำให้รับประทาน 1,000 – 7,200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งปริมาณที่ใช้ตลอดวัน เป็นระยะเวลา 4-6 เดือน

อาหารเสริม สารสกัดกระเทียม เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ต้องการลดระดับคอเลสเตอรอล และความดันโลหิต ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ลดโอกาสการเกิดโรคหวัด และไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ที่ต้องการลดน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่ต้องการลดการอักเสบในร่างกาย ช่วยลดอาการปวดข้อ และบรรเทาอาการอักเสบ จากโรคเรื้อรัง
  • ผู้ที่ต้องการชะลอความเสื่อมของเซลล์ จากสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องอืด หรืออาหารไม่ย่อย
  • ผู้ที่ต้องการล้างสารพิษในร่างกาย เพื่อขับสารพิษ และกระตุ้นการทำงานของตับ
  • นักกีฬา และผู้ที่ต้องการพลังงานสูง โดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และการลำเลียงออกซิเจน

สารสกัดกระเทียมมีโทษอย่างไร

แม้สารสกัดกระเทียม จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่การบริโภคในปริมาณมาก หรือไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง ดังนี้

  • ระคายเคืองระบบย่อยอาหาร: การรับประทานกระเทียมสด หรือสารสกัดในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการแสบท้อง ท้องอืด หรือร้อนในได้
  • กลิ่นตัวและกลิ่นปาก: สารอัลลิอินในกระเทียม ทำให้มีกลิ่นฉุน การบริโภคมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัว และกลิ่นปาก ที่ไม่พึงประสงค์
  • ผลต่อการแข็งตัวของเลือด: กระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดแข็งตัวช้า ผู้ที่มีปัญหาเลือดแข็งตัวช้า หรือรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรระมัดระวัง
  • อาการแพ้: บางคนอาจมีอาการแพ้กระเทียม เช่นผื่นคัน หายใจลำบาก หรืออาเจียน หากมีอาการดังกล่าวควรหยุดบริโภค และปรึกษาแพทย์ทันที
  • ปฏิกิริยากับยาบางชนิด: กระเทียมอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่นยาลดความดันโลหิต ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาลดน้ำตาลในเลือด ผู้ที่รับประทานยาดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนบริโภคสารสกัดกระเทียม
  • ผลต่อความดันโลหิต: สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ การบริโภคกระเทียม อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงมากยิ่งขึ้น ควรระมัดระวังในการบริโภค

เพื่อป้องกันผลข้างเคียง ควรบริโภคสารสกัดกระเทียม ในปริมาณที่เหมาะสม และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มบริโภค โดยเฉพาะหากมีโรคประจำตัว หรือใช้ยาประจำอยู่ [3]

สรุป สารสกัดกระเทียม ช่วยเสริมภูมิ ลดความดันเลือด

สารสกัดกระเทียมเป็นสมุนไพร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ตั้งแต่การลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ไปจนถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีประโยชน์มากมาย ผู้บริโภคควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และปรึกษาแพทย์ หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Wellness Whisperer
Wellness Whisperer

แหล่งอ้างอิง