กลูโคซามีน ดูแลข้อต่อและลดอาการปวดข้อ

กลูโคซามีน

กลูโคซามีน (Glucosamine) เป็นสารอาหาร ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญ กับสุขภาพ และการดูแลตัวเอง อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ที่มีส่วนผสมของกลูโคซามีน กลายเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบถึงบทบาท และประโยชน์ที่แท้จริง ของสารชนิดนี้ต่อสุขภาพ

กลูโคซามีน คืออะไร พบได้ในอาหารชนิดไหน

กลูโคซามีน

กลูโคซามีนเป็นสารประกอบ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในกระดูกอ่อน น้ำไขข้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ มีบทบาทสำคัญ ในการสร้าง และซ่อมแซมกระดูกอ่อน รวมถึงการรักษาความยืดหยุ่นของข้อ แหล่งอาหารธรรมชาติ ให้ปริมาณกลูโคซามีนต่ำมาก จึงมักต้องใช้ในรูปแบบอาหารเสริม

กลูโคซามีนสามารถพบได้ ในสัตว์ทะเล เช่นเปลือกกุ้ง ปู และหอย ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญ ในการผลิตอาหารเสริมกลูโคซามีน อย่างไรก็ตาม กลูโคซามีนที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาจเป็นแบบสังเคราะห์เช่นกัน เพื่อรองรับผู้ที่แพ้อาหารทะเล ประเภทของกลูโคซามีน สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine-Sulfate) เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด และใช้ในงานวิจัยจำนวนมาก เชื่อว่ามีประสิทธิภาพ ในการลดอาการข้อเสื่อม
  • กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ (Glucosamine-Hydrochloride) มีความเข้มข้น ของกลูโคซามีนสูงกว่า แต่มีข้อมูลการวิจัย น้อยกว่ากลูโคซามีนซัลเฟต
  • N-acetylglucosamine (NAG) เป็นรูปแบบที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน และโครงสร้างเซลล์มากกว่า โดยใช้ในงานวิจัย ทางการแพทย์เฉพาะทาง

ประโยชน์ของ กลูโคซามีน ในการดูแลข้อต่อ

  • กลูโคซามีนช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ลดการปวดในผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โดยช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวด ทำให้การเคลื่อนไหวสะดวกขึ้น
  • เสริมสร้างกระดูกอ่อน และไขข้อ ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนใหม่ และชะลอการเสื่อม ของกระดูกอ่อนเดิม ทำให้ข้อแข็งแรง และยืดหยุ่น
  • ลดความเสี่ยง ต่อโรคข้อเสื่อม การเสริมกลูโคซามีน เป็นประจำ สามารถช่วยชะลอ การเกิดโรคข้อเสื่อม ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง
  • ส่งเสริมการฟื้นฟู บาดแผลในข้อ มีบทบาทสำคัญ ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ที่ได้รับความเสียหาย จากอุบัติเหตุ หรือการใช้งานหนัก
  • สนับสนุนสุขภาพผิวหนัง นอกจากบทบาทในข้อแล้ว กลูโคซามีนยังช่วยกระตุ้น การผลิตกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) ซึ่งมีส่วนช่วย ในการเพิ่มความชุ่มชื้น และความยืดหยุ่น ของผิวหนัง

ใครที่ควรทาน กลูโคซามีน รูปแบบเสริมอาหาร

  • ผู้ที่มีปัญหา เกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ หรือข้อฝืดขัด
  • ผู้สูงอายุ ที่ข้อเข่ามีการสึกหรอ หรือเสื่อมสภาพ
  • ผู้ที่ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา ที่ต้องใช้แรงกดที่ข้อ เช่นวิ่ง หรือกระโดด
  • ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างความแข็งแรง ของกระดูกอ่อนและข้อ
  • ผู้ที่ต้องการป้องกันปัญหา ข้อเสื่อมในอนาคต
  • ผู้ที่มีประวัติโรคข้ออักเสบ หรือข้อเสื่อมในครอบครัว กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วน เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มาก อาจเพิ่มแรงกดทับข้อ ทำให้ข้อเสื่อมได้เร็วขึ้น

ที่มา: ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกลูโคซามีน (glucosamine) ในโรคข้อเสื่อม [1]

 

ควรกิน กลูโคซามีน นานแค่ไหน

กลูโคซามีนมักใช้ในการบรรเทาอาการ ของโรคข้อเสื่อม โดยทั่วไป การรับประทานกลูโคซามีน จะเริ่มเห็นผล หลังจากใช้ต่อเนื่องประมาณ 6-8 สัปดาห์ สำหรับระยะเวลาการใช้ ในระยะยาว มีการศึกษา ที่แสดงว่า สามารถใช้กลูโคซามีน ติดต่อกันได้นานถึง 3 ปี โดยไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง [2]

การกิน กลูโคซามีน มีผลกับไตไหม

กลูโคซามีนเป็นสาร ที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง และมักใช้เป็นอาหารเสริม เพื่อบรรเทาอาการ ของโรคข้อเสื่อม การใช้กลูโคซามีนในระยะยาว อาจมีผลต่อไต โดยเฉพาะในผู้ป่วย ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตอยู่แล้ว

กลูโคซามีนมักมีส่วนผสม ของเกลือโซเดียม หรือโพแทสเซียม เพื่อเพิ่มความคงตัว การบริโภคเกลือเหล่านี้ ในปริมาณมาก อาจส่งผลให้เกิดการคั่งของเกลือ และน้ำในร่างกาย ซึ่งเป็นภาระต่อไต โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไตวาย ที่ต้องจำกัดปริมาณเกลือโซเดียม การใช้กลูโคซามีนในกรณีนี้ อาจทำให้เกิดภาระต่อไตเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ กลูโคซามีนยังอาจมีผล ต่อระดับน้ำตาลในเลือด แม้ว่าการศึกษา ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะไม่พบการเปลี่ยนแปลง ที่มีนัยสำคัญ แต่ควรระมัดระวัง และตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง [3]

ปริมาณและวิธีการรับประทาน กลูโคซามีน

ขนาดที่แนะนำ ปริมาณมาตรฐานสำหรับผู้ใหญ่คือ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งทานเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน เพื่อการดูดซึม ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และควรรับประทานพร้อมอาหาร เพื่อลดการระคายเคือง ในกระเพาะอาหาร แม้ว่ากลูโคซามีน จะถือว่าปลอดภัย สำหรับผู้ใช้ส่วนใหญ่ แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อยได้

ผลข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ ท้องอืด หรือปวดท้อง ปวดศีรษะ หรืออาการแพ้ใน ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ไม่ควรใช้โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรระวัง เนื่องจากกลูโคซามีนอาจเสริมฤทธิ์ยา

นอกจากนี้ กลูโคซามีนสามารถทานร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพ ในการบำรุงข้อ และกระดูกเช่น แคลเซียม จะช่วยเสริมสร้าง และรักษาความแข็งแรง ของกระดูก หรือทานร่วมกับ คอลลาเจนไทพ์ทู ช่วยฟื้นฟู และเสริมสร้างกระดูกอ่อนในข้อต่อ การทานร่วมกัน ช่วยเสริมประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปกลูโคซามีน ลดอาการปวด บำรุงข้อต่อให้แข็งแรง

กลูโคซามีนเป็นสารประกอบ ที่มีบทบาทสำคัญ ในการบำรุงข้อต่อ และกระดูกอ่อน โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาข้อเสื่อม หรือข้ออักเสบ การเสริมด้วยกลูโคซามีน อาจช่วยลดอาการปวด เพิ่มความยืดหยุ่น และป้องกันความเสื่อมของข้อได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรพิจารณาถึงความปลอดภัย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Wellness Whisperer
Wellness Whisperer

แหล่งอ้างอิง