ไอโซฟลาโวน เป็นสารประกอบธรรมชาติ ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ในโลกของโภชนาการ และสุขภาพ ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น ในการปรับสมดุลฮอร์โมน และประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน ซึ่งกลายเป็นหัวข้อสำคัญ ในการวิจัยทางการแพทย์ เกี่ยวกับการป้องกันโรค และการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีขึ้น
ไอโซฟลาโวนเป็นสารประกอบ ธรรมชาติจากพืช เป็นสารประกอบในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่จัดอยู่ในกลุ่มของไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens) ซึ่งมีโครง สร้างคล้ายคลึงกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ในร่างกายมนุษย์ แต่มีฤทธิ์ที่อ่อนกว่า พบมากในพืชตระกูลถั่ว มีสารสำคัญได้แก่
ที่มา: isoflavone [1]
ที่มา: ไอโซฟลาโวนคืออะไร [2]
ไอโซฟลาโวนทำหน้าที่คล้ายกับ Hormone estrogen โดยจับกับตัวรับฮอร์โมน (Estrogen Receptors) ในร่างกาย แต่ออกฤทธิ์ที่อ่อนกว่า เอสโตรเจนในธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อระดับเอสโตรเจนในร่างกายต่ำ เช่นในช่วงวัยหมดประจำเดือน ไอโซฟลาโวนสามารถเติมเต็ม และช่วยลดผลกระทบ จากการขาดฮอร์โมนนี้ได้
ในทางตรงกันข้าม หากระดับเอสโตรเจน ในร่างกายสูงเกินไป เช่นในผู้หญิงที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ไอโซฟลาโวนจะไปแย่งจับตัวรับฮอร์โมน และลดผลกระทบ จากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไป
ถั่วเหลือง เป็นแหล่งอาหารสำคัญ ของไอโซฟลาโวน โดยทั่วไป พบปริมาณไอโซฟลาโวนรวม ประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อกรัม หรือ 100 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของถั่วเหลือง อย่างไรก็ตาม ปริมาณนี้ อาจแตกต่างกันไปตามพันธุ์ และสภาพการปลูก อาหารอื่นๆ ที่มีไอโซฟลาโวน เช่นเต้าหู้, นมถั่วเหลือง, Miso, Tempeh [3]
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ให้บริโภคไอโซฟลาโวน ในปริมาณ 25-50 Milligram ต่อวัน เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทางสุขภาพ เช่นการปรับสมดุลฮอร์โมน ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน และช่วยป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ โดยปริมาณนี้ สามารถได้รับจากการบริโภค ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น
ไอโซฟลาโวน ไม่เพียงแต่เป็นสารธรรมชาติ ที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน แต่ยังมีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพในหลายมิติ ตั้งแต่การป้องกันโรคเรื้อรัง การดูแลสุขภาพกระดูก ไปจนถึงการเสริมสร้างสุขภาพหัวใจ การบริโภคไอโซฟลาโวนในปริมาณที่เหมาะสม สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และส่งเสริมสุขภาพในระยะยาวได้