ไฟเบอร์ ความลับของสุขภาพที่คุณควรรู้

ไฟเบอร์

ไฟเบอร์ เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อย ในบริบทของสุขภาพ และโภชนาการ หากพูดถึงไฟเบอร์ หลายคนอาจนึกถึงอาหาร ที่ช่วยในเรื่องการขับถ่าย หรือเป็นส่วนสำคัญในการลดน้ำหนัก แต่อันที่จริง ไฟเบอร์มีความสำคัญ และมีบทบาทมากกว่านั้น ในบทความนี้ เราจะพาไปรู้จักกับไฟเบอร์ในทุกๆด้าน

ไฟเบอร์ (Fiber) คืออะไร มีกี่ประเภท

ไฟเบอร์ เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายมนุษย์ ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้ แต่ถึงแม้ร่างกายจะไม่สามารถย่อยไฟเบอร์ได้ แต่ก็สำคัญต่อระบบทางเดินอาหาร และสุขภาพโดยรวม ซึ่งแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่

  • ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ (Soluble Fiber): สามารถละลายในน้ำ และเปลี่ยนเป็นเจล ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ตัวอย่างของไฟเบอร์ชนิดนี้ได้แก่ Beta Glucan ที่พบในข้าวโอ๊ต และเมล็ดแฟลกซ์
  • ไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำ (Insoluble Fiber): ไม่ละลายในน้ำ และเพิ่มมวลในอุจจาระ ช่วยในการขับถ่าย และลดความเสี่ยง ของการเกิดอาการท้องผูก ไฟเบอร์ชนิดนี้ พบมากในธัญพืชเต็มเมล็ด และผักใบเขียว

ปริมาณไฟเบอร์ที่แนะนำต่อวัน ตามคำแนะนำขององค์กรสุขภาพ ร่างกายควรได้รับไฟเบอร์ ประมาณ 25-30 กรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ โดยสามารถเพิ่มปริมาณได้ ตามความเหมาะสม ของกิจกรรม และความต้องการพลังงาน

ประโยชน์ของไฟเบอร์ที่มีต่อสุขภาพ

  • ไฟเบอร์ช่วยย่อยอาหาร โดยเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร เพิ่มมวลอุจจาระ และกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
  • ปรับสมดุล Microbiome ในลำไส้ ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำบางชนิดเช่น Inulin และ fructo-oligosaccharide ซึ่งเป็น พรีไบโอติกส์ ที่เป็นอาหาร สำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร
  • สนับสนุนระบบทางเดินอาหาร ลดปัญหาท้องผูก ไฟเบอร์ช่วยเพิ่มมวลในลำไส้ และกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
  • สนับสนุนการเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก ไฟเบอร์ช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ลดความอยากอาหาร และช่วยในการควบคุมปริมาณแคลอรีที่บริโภค
  • ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง การบริโภคไฟเบอร์เป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยง ของโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 และมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงของ การเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • ลดระดับคอเลสเตอรอล ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ สามารถจับกับไขมันในลำไส้ และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล เข้าสู่กระแสเลือด

กินไฟเบอร์ทุกวันมีผลเสียไหม

  • การกินไฟเบอร์ทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มีผลเสีย แต่หากบริโภคไฟเบอร์มากเกินไป อาจส่งผลเสีย เช่น
  • อาการทางระบบย่อยอาหาร: ท้องอืด เรอ ผายลมบ่อย ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • การดูดซึมแร่ธาตุลดลง: การบริโภคไฟเบอร์มากเกินไป อาจรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่นแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะขาดแร่ธาตุ และเกิดอาการต่างๆ เช่นปวดตามร่างกาย อ่อนเพลีย และใจสั่น

ที่มา: กินไฟเบอร์มากเกินไป ผลกระทบ [1]

 

กินไฟเบอร์ ลดพุงได้จริงไหม

  • การบริโภคไฟเบอร์เป็นประจำ สามารถช่วยลดไขมันหน้าท้องหรือ “พุง” ได้จริง เนื่องจากไฟเบอร์ มีบทบาทสำคัญ ในการควบคุมน้ำหนัก และส่งเสริมสุขภาพ ของระบบย่อยอาหาร วิธีที่ไฟเบอร์ช่วยลดพุงได้ มีดังนี้
  • เพิ่มความรู้สึกอิ่ม: ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ เมื่อสัมผัสกับน้ำ จะกลายเป็นเจลหนืด ในระบบย่อยอาหาร ชะลอการย่อย และการดูดซึมสารอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ลดความอยากอาหาร และลดปริมาณแคลอรีที่บริโภค
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: ไฟเบอร์ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล เข้าสู่กระแสเลือด ลดความผันผวน ของระดับน้ำตาล ซึ่งส่งผลดี ต่อการควบคุมน้ำหนัก และลดการสะสมไขมัน บริเวณหน้าท้อง
  • ส่งเสริมการขับถ่าย: ไฟเบอร์ช่วยเพิ่มมวลอุจจาระ และกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ลดการสะสมของเสีย และไขมันในร่างกาย

ที่มา: ไฟเบอร์ช่วยลดน้ำหนัก ได้ยังไง [2]

 

ไฟเบอร์ หรือใยอาหาร ห้ามกินกับอะไร

ไฟเบอร์
  • การบริโภคไฟเบอร์ หรือใยอาหาร มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ อย่างไรก็ตาม การรับประทานไฟเบอร์ ร่วมกับอาหารบางชนิด อาจส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร และประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหารได้ โดยอาหารที่ควรระวัง เมื่อรับประทานร่วมกับไฟเบอร์เช่น
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม: การดื่มนม พร้อมกับอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่นผัก หรือผลไม้ อาจทำให้ใยอาหารจากผัก และผลไม้ ไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้น ควรดื่มนม ให้ห่างจากมื้ออาหาร ที่มีไฟเบอร์สูง
  • ยาบางชนิด: ไฟเบอร์อาจส่งผลต่อการดูดซึม และการออกฤทธิ์ ของยาบางประเภท หากกำลังรับประทานยา ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการรับประทานไฟเบอร์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว

ที่มา: 15 คู่อาหาร ที่ห้ามกินพร้อมกัน [3]

 

แหล่งอาหารที่อุดมด้วยเส้นใย ไฟเบอร์

หากต้องการเพิ่มปริมาณไฟเบอร์ ในอาหารประจำวัน สามารถเลือกอาหารดังต่อไปนี้

  • ผัก: บรอกโคลี แครอท และผักโขม
  • ผลไม้: แอปเปิล ส้ม กล้วย และเบอร์รี
  • ธัญพืช: ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง และขนมปัง Whole Wheat
  • ถั่วและเมล็ดพืช: ถั่วดำ ถั่วแดง เมล็ดเจีย และเมล็ดแฟลกซ์

สรุป ไฟเบอร์ สิ่งสำคัญ ต่อทางเดินอาหาร

ไฟเบอร์เป็นส่วนสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม ในอาหารประจำวัน นอกจากจะช่วยสนับสนุนระบบทางเดินอาหารแล้ว ไฟเบอร์ยังมีบทบาท ในการลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง ควบคุมน้ำหนัก และส่งเสริมสุขภาพโดยรวม การเลือกอาหารที่มีไฟเบอร์สูง และการบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดี

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Wellness Whisperer
Wellness Whisperer

แหล่งอ้างอิง