ไซเลี่ยมฮัสค์ ประโยชน์ หลากหลาย ที่ดีต่อระบบขับถ่าย

ไซเลี่ยมฮัสค์ ประโยชน์

ไซเลี่ยมฮัสค์ ประโยชน์ ของมันอาจเป็นสิ่งที่หลายคนเคยได้ยิน แต่ยังไม่แน่ใจ ว่ามีผลต่อสุขภาพอย่างไร ในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญ กับการดูแลร่างกาย และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไฟเบอร์จากธรรมชาติ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคน ที่ต้องการปรับสมดุลระบบขับถ่าย และสุขภาพลำไส้

เส้นใยไซเลี่ยมฮัสค์ คืออะไร?

ไซเลี่ยมฮัสค์ (Psyllium Husk) เป็นเส้นใยจากเมล็ดของต้น Plantago ovata ซึ่งเป็นพืชที่เติบโตในประเทศอินเดีย และบางส่วนของเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือ เปลือกเมล็ดของพืชชนิด นี้อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่สามารถละลายน้ำได้

ซึ่งเมื่อผสมไซเลี่ยมฮัสค์ กับของเหลว จะเกิดเจลลักษณะคล้ายวุ้น ทำให้มีประโยชน์ในด้านการดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด [1]

คุณค่าโภชนาการของไซเลี่ยมฮัสค์

ไซเลี่ยมฮัสค์มีไฟเบอร์สูง และให้พลังงานต่ำ โดยในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (ประมาณ 9 กรัม) จะให้สารอาหารดังนี้

  • ไฟเบอร์ทั้งหมด: ประมาณ 7 กรัม (เป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้เกือบทั้งหมด)
  • คาร์โบไฮเดรต: ประมาณ 8 กรัม
  • โปรตีนและไขมัน: แทบไม่มี
  • แคลอรี: ประมาณ 30 กิโลแคลอรี

อาหารเสริม ไซเลี่ยมฮัสค์ ประโยชน์

  • ไซเลี่ยมฮัสค์ ประโยชน์ ดีต่อสุขภาพลำไส้ และระบบขับถ่าย ไซเลี่ยมฮัสค์เป็นไฟเบอร์ ชนิดละลายน้ำ ที่ช่วยเพิ่มปริมาณ และความนุ่มของอุจจาระ ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรีย ในลำไส้ โดยทำหน้าที่เป็น พรีไบโอติก (Prebiotic) ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์
  • ควบคุมน้ำหนัก ไซเลี่ยมฮัสค์ช่วยชะลอการย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ลดความอยากอาหาร และช่วยลดการบริโภคแคลอรีส่วนเกิน นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีส่วนสำคัญ ในการจัดการน้ำหนัก ในระยะยาว
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไซเลี่ยมฮัสค์สามารถช่วยลดอัตราการดูดซึมน้ำตาล เข้าสู่กระแสเลือด ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ และลดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล
  • บำรุงสุขภาพหัวใจ และลดคอเลสเตอรอล การบริโภคไซเลี่ยมฮัสค์เป็นประจำ สามารถช่วยลดระดับ LDL (ไขมันไม่ดี) และเพิ่มระดับ HDL (ไขมันดี) ในร่างกาย ทำให้ลดความเสี่ยง ของโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง
  • ช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) และกรดไหลย้อน ผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) มักพบว่าการทานไฟเบอร์ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดอาการท้องผูก ท้องเสีย และอาการไม่สบายท้องได้ นอกจากนี้ ไซเลี่ยมฮัสค์ยังช่วยลดความเป็นกรด ในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อน (GERD) ได้อีกด้วย

รูปแบบวิธีทานไซเลี่ยมฮัสค์

การรับประทานไซเลี่ยมฮัสค์แบบผง เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากสามารถควบคุมปริมาณได้ง่าย และสามารถผสมเข้ากับเครื่องดื่ม หรืออาหารได้ตามต้องการ ใช้ 1-2 ช้อนชา (ประมาณ 5-10 กรัม) ผสมกับ น้ำเปล่า 200-250 มิลลิลิตร หรือ น้ำผลไม้ คนให้เข้ากันแล้วดื่มทันที และดื่มน้ำตามอีก 1-2 แก้ว

การรับประทานไซเลี่ยมฮัสค์ แบบแคปซูล เป็นตัวเลือกที่สะดวก สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับประทานแบบผง เนื่องจากไม่ต้องผสมกับน้ำ แต่แคปซูลอาจใช้เวลานาน กว่าที่จะออกฤทธิ์ เมื่อเทียบกับแบบผง รับประทาน ตามปริมาณที่ระบุบนฉลากของผลิตภัณฑ์ 1-2 แคปซูล ทานพร้อมน้ำเปล่าประมาณ 250-300 มิลลิลิตร

การใช้ไซเลี่ยมฮัสค์ในอาหาร

ไซเลี่ยมฮัสค์ ประโยชน์

ไซเลี่ยมฮัสค์สามารถนำมาใช้ในอาหาร เพื่อเพิ่มใยอาหาร และช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัสของอาหารได้หลายวิธี ดังนี้

  • ผสมกับเครื่องดื่ม เช่นน้ำผลไม้ เช่นน้ำส้ม น้ำแอปเปิล หรือน้ำมะนาว เพื่อเพิ่มรสชาติ หรือใส่สมูทตี้ โดยใส่ไซเลี่ยมฮัสค์ ลงในสมูทตี้ เพื่อเพิ่มความข้น และใยอาหาร
  • ผสมในอาหารเช้า เช่นโยเกิร์ตหรือกรีกโยเกิร์ต โรยไซเลี่ยมฮัสค์ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน หรือใส่ในข้าวโอ๊ต กราโนล่า ผสมไซเลี่ยมฮัสค์ลงในข้าวโอ๊ตปรุงสุก หรือโรยบนกราโนล่า และยังสามารถผสมกับนม และซีเรียล เพื่อเพิ่มไฟเบอร์
  • ใช้ในเบเกอรี่และขนมอบ เช่นขนมปังโฮลวีต ใส่ไซเลี่ยมฮัสค์ลงไปในแป้ง เพื่อเพิ่มเส้นใย แพนเค้กและวาฟเฟิล ใช้แทนแป้งบางส่วน เพื่อให้เนื้อขนมนุ่ม และมีไฟเบอร์สูงขึ้น มัฟฟิน คุกกี้เพื่อสุขภาพ ผสมในแป้งทำคุกกี้หรือมัฟฟิน เพื่อเพิ่มประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ใช้เป็นสารเพิ่มความข้นในอาหาร เช่นซุปและซอส ใส่ไซเลี่ยมฮัสค์เล็กน้อย เพื่อทำให้ซุปข้นขึ้น น้ำสลัดโฮมเมด ใส่ไซเลี่ยมฮัสค์ในน้ำสลัด เพื่อเพิ่มความหนืด พุดดิ้งและของหวาน ใช้แทนแป้งข้าวโพด หรือเจลาตินในบางสูตร
  • ใช้ในอาหารคีโต และวีแกน เช่นใช้แทนไข่ในสูตรวีแกน ผสมไซเลี่ยมฮัสค์ 1 ช้อนชา กับน้ำ 3 ช้อนโต๊ะ แล้วพักไว้ 5-10 นาที จะได้เนื้อสัมผัสคล้ายไข่ขาว หรือทำแป้งพิซซ่าคีโต ใช้ผสมกับแป้งอัลมอนด์ หรือแป้งมะพร้าว เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น

ไซเลี่ยมฮัสค์ข้อควรระวัง ผลข้างเคียง

  • ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ ไซเลี่ยมฮัสค์ดูดซับน้ำ และพองตัว หากดื่มน้ำไม่พอ อาจทำให้เกิดอาการอุดตันในลำไส้
  • ไม่ควรรับประทานแบบแห้ง ต้องผสมกับน้ำเสมอ เพื่อป้องกันการติดคอ
  • เว้นระยะจากการรับประทานยา ควรรับประทานห่างจากยา 1-2 ชั่วโมง เพราะไซเลี่ยมฮัสค์ อาจลดการดูดซึมของยา
  • ไม่เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาลำไส้อุดตัน หรือผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัด ในระบบทางเดินอาหาร
  • ผู้ที่แพ้ไฟเบอร์หรือไซเลี่ยมฮัสค์ ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่นผื่นคัน หรือหายใจติดขัด
  • อาการท้องอืด และแก๊สในลำไส้ เกิดจากการที่ไฟเบอร์ถูกหมัก โดยจุลินทรีย์ในลำไส้
  • อาการท้องผูก หรืออุดตันในลำไส้ หากรับประทาน โดยไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • อาการท้องเสีย หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ระบบขับถ่ายไวเกินไป
  • อาจลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ใช้ยาควบคุมน้ำตาล

สรุป ไซเลี่ยมฮัสค์แหล่งไฟเบอร์ธรรมชาติ

ไซเลี่ยมฮัสค์เป็นแหล่งไฟเบอร์ธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน โดยเฉพาะสุขภาพลำไส้ การควบคุมน้ำหนัก และการดูแลระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม การใช้อย่างถูกต้อง และดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น การเพิ่มไซเลี่ยมฮัสค์ในอาหารเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ได้รับไฟเบอร์เพียงพอ

กินไซเลี่ยมฮัสค์กระตุ้นอินซูลินไหม?

การรับประทานไซเลี่ยมฮัสค์ (Psyllium Husk) ไม่ได้กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน แต่กลับช่วยลดระดับอินซูลิน และน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเส้นใยอาหารในไซเลี่ยมฮัสค์ ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลคงที่ ดังนั้น ไซเลี่ยมฮัสค์ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [2]

ไซเลี่ยมฮัสค์ควรทานเวลาไหน?

การรับประทานไซเลี่ยมฮัสค์ ควรทำก่อนมื้ออาหาร ประมาณ 15-30 นาที เพื่อให้ไฟเบอร์พองตัว ในกระเพาะอาหาร ช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่ม และลดการบริโภคอาหาร ในมื้อนั้น นอกจากนี้ การรับประทานในช่วงเช้า จะช่วยให้มีเวลาตลอดวัน ในการดื่มน้ำ และทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเสริมการทำงาน ของลำไส้

เมื่อรับประทานไซเลี่ยมฮัสค์ ควรดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อป้องกันการอุดตันของลำไส้ และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานก่อนนอนทันที เนื่องจากอาจทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง ในระหว่างการนอนหลับ อย่างไรก็ตาม ควรเริ่มรับประทาน ในปริมาณน้อยๆ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวก่อน [3]

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง