แอสตาแซนธิน สารสกัดบำรุงผิว ช่วยดูแลสุขภาพ

แอสตาแซนธิน

แอสตาแซนธิน อาหารเสริมที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ในวงการอาหารเสริม และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ แม้ว่าสารนี้ จะฟังดูเป็นเรื่องใหม่ สำหรับบางคน แต่ในความเป็นจริง แอสตาแซนธินคือสารธรรมชาติ ที่พบได้ ในสิ่งแวดล้อม รอบตัวเรามานาน การทำความรู้จักแอสตาแซนธินให้ดียิ่งขึ้น อาจช่วยให้ค้นพบวิธีใหม่ ในการดูแลสุขภาพ

สารสกัดจากธรรมชาติ แอสตาแซนธิน คืออะไร

แอสตาแซนธิน

แอสตาแซนธินหรือ (Astaxanthin) เป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง พบได้ในธรรมชาติ ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด สารนี้เป็นตัวที่ทำให้สิ่งมีชีวิตในทะเล มีสีสันสวยงาม ตั้งแต่สีชมพู จนถึงสีแดงเข้ม

แอสตาแซนธินมีคุณสมบัติเด่น ในเรื่องการปกป้องเซลล์ จากความเสียหายของอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย ที่ทำให้เกิดโรค และกระบวนการเสื่อมของร่างกาย สารนี้ยังมีประสิทธิภาพ ที่สูงกว่าวิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีนหลายเท่า ในด้านการต้านอนุมูลอิสระ แอสตาแซนธินพบในแหล่งอาหาร ดังนี้

  • ปลาแซลมอน: มีแอสตาแซนธินประมาณ 5 ppm
  • แพลงก์ตอน: มีแอสตาแซนธินประมาณ 60 ppm
  • เคย: มีแอสตาแซนธินประมาณ 120 ppm
  • กุ้งทะเลน้ำลึก: มีแอสตาแซนธิน 1,200 ppm
  • ยีสต์ Phaffia: มีแอสตาแซนธิน10,000 ppm
  • สาหร่าย Haematococcus pluvialis: มีแอสตาแซนธินสูงสุด 40,000 ppm

เนื่องจากปริมาณแอสตาแซนธิน ในอาหารธรรมชาติ มีค่อนข้างน้อย การได้รับแอสตาแซนธิน ในปริมาณที่เพียงพอ จากการบริโภคอาหารเพียงอย่างเดียว อาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ผู้ที่ต้องการรับแอสตาแซนธินเพิ่มเติม มักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่สกัดจากแหล่ง ซึ่งมีความเข้มข้น ของแอสตาแซนธินสูง

ประโยชน์ด้านต่างๆของแอสตาแซนธิน

  • การดูแลผิวพรรณ แอสตาแซนธินเป็นสาร ที่มีบทบาทสำคัญ ในอุตสาหกรรมความงาม ด้วยคุณสมบัติในการลดเลือนริ้วรอย ปรับปรุงความยืดหยุ่นของผิว และปกป้องผิว จากการทำลายของรังสี UV นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และลดอาการอักเสบของผิว ทำให้ผิวดูสุขภาพดี และกระจ่างใสขึ้น
  • สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด แอสตาแซนธินช่วย ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) รวมถึงลดการอักเสบ ในหลอดเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • สุขภาพดวงตา การใช้แอสตาแซนธิน สามารถช่วยป้องกันโรค ที่เกี่ยวกับดวงตา เช่นจอประสาทตาเสื่อม และลดความเมื่อยล้าของดวงตา จากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือ Smartphone เป็นเวลานาน
  • การสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน แอสตาแซนธินมีบทบาทในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ช่วยให้ร่างกาย สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค และลดความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อ
  • การเสริมสร้างพลังงาน และความทนทานของร่างกาย นักกีฬาและผู้ที่ต้องการเพิ่มความอึดของร่างกาย มักใช้แอสตาแซนธิน เป็นส่วนหนึ่งของอาหารเสริม เนื่องจากสามารถลดความเมื่อยล้า ของกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการออกกำลังกาย

แอสตาแซนธิน ควรระมัดระวัง ห้ามกินคู่กับอะไร

แอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ควรระมัดระวัง ในการรับประทานร่วมกับสาร หรือยาบางชนิด ดังนี้

  • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin): การรับประทานแอสตาแซนธิน ร่วมกับยาวาร์ฟาริน ซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด อาจเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดภาวะเลือดออกในร่างกาย
  • อาหารเสริมไฟเบอร์ (Dietary Fiber): การรับประทานแอสตาแซนธิน พร้อมกับอาหารเสริมไฟเบอร์ อาจทำให้การดูดซึมแอสตาแซนธินลดลง เนื่องจากไฟเบอร์ สามารถยับยั้งการดูดซึม ของสารที่ละลายในไขมัน
  • เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเริ่มรับประทานแอสตาแซนธิน โดยเฉพาะหากกำลังใช้ยา หรืออาหารเสริมอื่นๆ เพื่อป้องกันปฏิกิริยา ที่ไม่พึงประสงค์ ที่อาจเกิดขึ้น [1]

แอสตาแซนธิน ทานต่อเนื่องได้ไหม วันละกี่มิลลิกรัม

ปริมาณการรับประทานแอสตาแซนธิน ที่แนะนำ สำหรับผู้ใหญ่คือ 4–12 มิลลิกรัมต่อวัน โดยปริมาณที่เหมาะสมขึ้น อยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ โดยมีคำแนะนำ ดังนี้

  • รับประทานแอสตาแซนธิน 4 มิลลิกรัมต่อวัน: ช่วยลดการอักเสบได้ดี
  • รับประทานแอสตาแซนธิน 12 มิลลิกรัมต่อวัน: เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  • ควรรับประทานแอสตาแซนธิน พร้อมมื้ออาหาร ที่มีไขมัน เพื่อเพิ่มการดูดซึมของร่างกาย
  • การรับประทานสารแอสตาแซนธิน ในปริมาณ 4–18 มิลลิกรัมต่อวันติดต่อกันไม่เกิน 12 สัปดาห์ ถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม ปริมาณที่เหมาะสม อาจแตกต่างกันไปตามอายุ สุขภาพ และสภาวะร่างกายของแต่ละบุคคล ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเริ่มรับประทานอาหารเสริมแอสตาแซนธิน เพื่อให้ได้รับคำแนะนำ ที่เหมาะสมกับตนเอง [2]

แอสตาแซนธิน สารละลายในไขมัน กินตอนไหนดีที่สุด

แอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ละลายในไขมัน การรับประทานพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น และแนะนำให้รับประทานในมื้อเช้า เนื่องจากร่างกาย จะได้รับการปกป้อง จากอนุมูลอิสระตลอดทั้งวัน และหากทานร่วมกับ เซราไมด์ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพ ในการบำรุงผิวมากยิ่งขึ้น [3]

แอสตาแซนธิน ข้อควรระวังการทาน ในบางกรณี

แอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่การใช้งาน ควรระมัดระวัง ในบางกรณี ดังนี้

  • ผู้ที่แพ้อาหารทะเล: หากมีประวัติแพ้สาหร่าย แซลมอน กุ้ง หรือล็อบสเตอร์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแอสตาแซนธิน เนื่องจากอาจเกิดอาการแพ้
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว: ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่นระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคกระดูกพรุน แคลเซียมต่ำ ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ผิดปกติ หรือความดันโลหิตผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนใช้แอสตาแซนธิน
  • สตรีมีครรภ์ หรือให้นมบุตร: เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ เกี่ยวกับความปลอดภัย ของแอสตาแซนธินในกลุ่มนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ หรือปรึกษาแพทย์ก่อน
  • การใช้ยาบางชนิด: แอสตาแซนธินอาจมีปฏิกิริยา กับยาบางประเภท เช่นยาลดความดันโลหิต ยากดภูมิคุ้มกัน หรือยาที่มีผลต่อฮอร์โมนเพศชาย ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ หากกำลังใช้ยาดังกล่าว
  • ปริมาณการบริโภค: การบริโภคแอสตาแซนธิน ในปริมาณมากเกินไป (เช่น เกิน 48 มิลลิกรัมต่อวัน) อาจทำให้อุจจาระมีสีแดง และอาจส่งผล ต่อระดับแคลเซียม และความดันโลหิต ดังนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ บนฉลากหรือปรึกษาแพทย์

สรุป แอสตาแซนธิน สารสกัดสีแดง เพื่อสุขภาพและความงาม

แอสตาแซนธินเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์หลากหลายด้าน ทั้งในเรื่องของสุขภาพ และความงาม ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น ในการต้านอนุมูลอิสระ และส่งเสริมการทำงานของร่างกาย สารนี้จึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Wellness Whisperer
Wellness Whisperer

แหล่งอ้างอิง