แคลเซียม แร่ธาตุสำคัญที่มีบทบาทในชีวิต

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุที่มีชื่อเสียง ในด้านของการเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง แต่ความสำคัญของแคลเซียม ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เพราะแร่ธาตุชนิดนี้ ยังมีบทบาทสำคัญ ในการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายอีกมากมาย แคลเซียมจึงเป็นแร่ธาตุที่จำเป็น ต่อสุขภาพของมนุษย์ อย่างขาดไม่ได้

แร่ธาตุ แคลเซียม คืออะไร พบได้ในอาหารใด

แคลเซียม

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้มากที่สุดในร่างกายมนุษย์ โดยประมาณ 99% ของแคลเซียมในร่างกาย จะอยู่ในกระดูกและฟัน ส่วนที่เหลืออีก 1% อยู่ในเลือด กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่นๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ต่อการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย แคลเซียมพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น

  • ผลิตภัณฑ์นม เช่นนมสด โยเกิร์ต และชีส ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งแคลเซียมอันดับต้นๆ ที่ย่อยง่าย และดูดซึมได้ดี
  • ผักใบเขียว เช่นคะน้า ผักโขม และบรอกโคลี ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติ
  • อาหารทะเล เช่นปลาซาร์ดีน และปลาแซลมอนกระป๋องที่มีก้างอ่อน
  • ถั่วและเมล็ดธัญพืช เช่นอัลมอนด์ และเมล็ดงา
  • อาหารเสริม สำหรับผู้ที่มีความต้องการแคลเซียมเป็นพิเศษ หรือไม่สามารถรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมได้เพียงพอ

ประโยชน์ แคลเซียม ต่อสุขภาพ

  • เสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง ช่วยพัฒนาความแข็งแรง ของกระดูกและฟัน ป้องกันฟันผุ
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงของกระดูกหัก ในผู้สูงอายุ และช่วยชะลอการสลายตัวของกระดูก
  • ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ มีบทบาทสำคัญ ในการหดตัว และคลายตัวของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยในการแข็งตัวของเลือด มีบทบาทสำคัญในการสร้างลิ่มเลือด เพื่อหยุดเลือดไหล ในกรณีบาดเจ็บ
  • ส่งเสริมระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ช่วยในกระบวนการ ส่งสัญญาณประสาท ระหว่างเซลล์
  • สนับสนุนสุขภาพหัวใจ และการไหลเวียนโลหิต ช่วยรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจ ให้อยู่ในภาวะปกติ
  • ลดความเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง อาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต โดยเฉพาะในผู้ที่ขาดแคลเซียม
  • ส่งเสริมการเผาผลาญ และควบคุมน้ำหนัก มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมัน และน้ำตาลในร่างกาย
  • ป้องกันอาการตะคริว และกล้ามเนื้อกระตุก ช่วยลดอาการผิดปกติ ของกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากการขาดแคลเซียม
  • สนับสนุนการทำงาน ของเอนไซม์ในร่างกาย มีบทบาทในการกระตุ้นเอนไซม์สำคัญต่างๆ สำหรับกระบวนการเผาผลาญ

ถ้าร่างกายขาดธาตุ แคลเซียม จะเป็นอย่างไร

หากร่างกายขาดแคลเซียม หรือมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายประการ ดังนี้

  • กล้ามเนื้อและระบบประสาท: เวียนศีรษะ เป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็งหรือกระตุก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาการชา หรือเสียวคล้ายถูกเข็มแทงที่ใบหน้า ปาก มือ หรือเท้า
  • ระบบหัวใจ: หัวใจเต้นช้า หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • กระดูกและฟัน: กระดูกหักง่าย และอาจมีปัญหาทางทันตกรรม เช่นฟันเปราะบางหรือผุได้ง่าย
  • อาการอื่นๆ: สั่น ทรงตัวลำบาก ปัญหาความจำ อารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่นวิตกกังวล สับสน ซึมเศร้า หรือหงุดหงิด ในระยะยาว การขาดแคลเซียม อาจทำให้เล็บเปราะบาง ผมยาวช้า ผิวหนังบางหรือแห้ง

สาเหตุของการขาดแคลเซียม เช่นการรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมต่ำเป็นเวลานาน การขาดวิตามินดี ซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียม หรือการใช้ยาบางชนิด ที่ลดการดูดซึมแคลเซียม หรือมีโรคภาวะทางสุขภาพ เช่นโรคไตวาย โรคตับอ่อนอักเสบ หรือภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ต่ำ [1]

ผลข้างเคียงการได้รับ แคลเซียม มากเกินไป

  • นิ่วในไต การสะสมของแคลเซียมส่วนเกินในไต อาจทำให้เกิดนิ่วในไต ส่งผลให้เกิดอาการปวด และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia) ระดับแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินไปอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำมากผิดปกติ และปัสสาวะบ่อย
  • ท้องผูก การได้รับแคลเซียมในปริมาณสูง อาจทำให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานช้าลง ส่งผลให้ท้องผูก
  • ลดการดูดซึมของแร่ธาตุอื่นๆ ปริมาณแคลเซียมที่มากเกินไป อาจรบกวนการดูดซึม ของธาตุเหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียม ทำให้ขาดแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ ระดับแคลเซียมที่สูงมาก อาจมีผลต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
  • อาการทางระบบประสาท อาจทำให้เกิดความสับสน เวียนศีรษะ หรืออ่อนเพลีย

กิน แคลเซียม คู่วิตามินอะไร และปริมาณต่อวัน

การรับประทานแคลเซียมร่วมกับ วิตามินดี เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากวิตามินดี ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม ในลำไส้เล็ก ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การรับประทานแคลเซียมร่วมกับแมกนีเซียม และโบรอน ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ของกระดูกและฟัน ได้อีกด้วย [2]

ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวันขึ้น อยู่กับอายุและเพศของแต่ละบุคคล ดังนี้

  • เด็กเล็ก (1-3 ขวบ): 700 milligram
  • เด็กโต (4-8 ขวบ): 1,000 milligram
  • วัยรุ่น (9-18 ปี): 1,300 มิลลิกรัม
  • ผู้ใหญ่ (19-50 ปี): 1,000 มิลลิกรัม
  • ผู้สูงอายุ (51 ปีขึ้นไป): 1,200 มิลลิกรัม

แคลเซียม ห้ามกินกับยา หรืออาหารอะไร

การรับประทานแคลเซียมเสริม ควรระมัดระวัง ไม่ให้รับประทานร่วมกับยา หรืออาหารบางชนิด เนื่องจากอาจส่งผลต่อการดูดซึม หรือประสิทธิภาพของยา ดังนี้

  • อาหารที่มีโซเดียมสูง: การบริโภคโซเดียมมากเกินไป อาจเพิ่มการขับแคลเซียม ออกจากร่างกาย
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง: เช่นชา กาแฟ น้ำอัดลม อาจลดการดูดซึมแคลเซียม
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียม
  • ยาปฏิชีวนะกลุ่มfluoroquinolone และ tetracycline: แคลเซียมอาจลดการดูดซึม ของยาเหล่านี้ ทำให้ประสิทธิภาพลดลง ควรรับประทานแคลเซียม ให้ห่างจากยาประมาณ 2 ชั่วโมง
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม Calcium Channel Blockers (CCBs): การรับประทานแคลเซียมร่วมกับยากลุ่มนี้ อาจลดประสิทธิภาพของยา
  • ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์: แคลเซียมอาจรบกวนการดูดซึมของยานี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานร่วมกัน
  • ยากลุ่ม Bisphosphonates: แคลเซียมอาจลดการดูดซึมของยา ควรรับประทานแยกเวลาจากกัน

ที่มา: แคลเซียมได้จากอะไรบ้าง กินอย่างไรได้ประโยชน์เต็มๆ [3]

 

สรุป แคลเซียม แร่ธาตุจำเป็น เสริมกระดูกและฟัน

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม จากอาหาร หรืออาหารเสริม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยการเลือกทานอาหารที่หลากหลายและสมดุล

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Wellness Whisperer
Wellness Whisperer

แหล่งอ้างอิง