อาหารเสริม ผมและเล็บ เลือกทานอะไร เพื่อบำรุง

อาหารเสริม ผมและเล็บ

อาหารเสริม ผมและเล็บ ได้รับความสนใจมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เนื่องจากปัญหาผมร่วง ผมบาง เล็บเปราะ แตกหักง่าย กลายเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อย ทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเครียด มลภาวะ และการขาดสารอาหารที่จำเป็น เพราะการดูแลจากภายใน ด้วยอาหารเสริมที่เหมาะสม จะช่วยให้เส้นผม และเล็บแข็งแรงขึ้นได้

อาหารเสริม (Dietary Supplements) คืออะไร?

อาหารเสริม คือผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบ มาเพื่อเติมเต็มสารอาหาร ที่อาจขาดหายไปจากการรับประทานอาหาร ในชีวิตประจำวัน โดยมีหลากหลายรูปแบบ เช่นแคปซูล เม็ด ผง หรือของเหลว อาหารเสริมสามารถประกอบด้วยวิตามิน แร่ธาตุ สมุนไพร กรดอะมิโน เอนไซม์ หรือสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ประเภทของอาหารเสริม มีอะไรบ้าง?

  • วิตามินและแร่ธาตุ เช่นวิตามินซี วิตามินดี แคลเซียม ธาตุเหล็ก
  • โปรตีนและกรดอะมิโน เช่นเวย์โปรตีน กรดอะมิโนจำเป็น
  • สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น Coenzyme Q10 สารสกัดจากเมล็ดองุ่น
  • สมุนไพรและสารสกัดจากพืช เช่นโสม ขมิ้นชัน ใบแปะก๊วย
  • อาหารเสริมเฉพาะด้าน เช่นอาหารเสริมบำรุงสมอง หัวใจ ผิวพรรณ ผมและเล็บ

แนะนำ 10 อาหารเสริม ผมและเล็บ

  1. อาหารเสริม ผมและเล็บ ที่แนะนำ ไบโอติน ช่วยอะไรบ้าง ไบโอตินหรือวิตามิน B7 เป็นหนึ่งในวิตามินที่สำคัญต่อสุขภาพเส้นผมและเล็บ มีบทบาทช่วยการผลิตเคราติน ซึ่งเป็นโครงสร้างหลัก ของเส้นผมและเล็บ หากร่างกายขาดไบโอติน อาจทำให้ผมร่วงง่าย เล็บเปราะและแตกหักได้ง่ายขึ้น
  2. ซิลิก้า ช่วยอะไร ซิลิก้าหรือซิลิคอนไดออกไซด์ เป็นแร่ธาตุ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเส้นผมและเล็บ โดยช่วยให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ เช่นแคลเซียม และแมกนีเซียมได้ดีขึ้น ซิลิก้ามีส่วนช่วยให้เส้นผมเงางาม ไม่เปราะขาดง่าย และช่วยทำให้เล็บแข็งแรงขึ้น
  3. เคราติน กินอะไร เคราตินเป็นโปรตีนหลัก ที่ประกอบเป็นโครงสร้างของเส้นผมและเล็บ การเสริมเคราตินจากอาหารจำเป็น ต้องมีสารอาหาร ที่ช่วยกระตุ้นการผลิตเคราติน เช่นโปรตีน ไบโอติน วิตามิน และกรดอะมิโนที่สำคัญ
  4. Zinc ช่วยอะไร ซิงค์หรือสังกะสี มีบทบาทสำคัญ ในการช่วยให้เซลล์ผม และเล็บทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหาย ลดการอักเสบของหนังศีรษะ และช่วยลดปัญหาผมร่วง
  5. คอลลาเจน ไตรเปปไทด์ เป็นรูปแบบของคอลลาเจน ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่าย มีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างโครงสร้างของเส้นผมและเล็บ ทำให้ผมหนาขึ้น ลดผมร่วง และช่วยให้เล็บแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย
  6. น้ำมัน เมล็ดฟักทอง อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม บำรุงหนังศีรษะ และช่วยให้เล็บแข็งแรงขึ้น
  7. เมไธโอนีน ช่วยอะไร เมไธโอนีนเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่ช่วยกระตุ้นการผลิตเคราติน และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเส้นผมและเล็บ อีกทั้งยังมีส่วนช่วย ลดการเกิดผมหงอกก่อนวัย
  8. แอลซิสเทอีน ประโยชน์ คือช่วยป้องกันผมร่วง แอลซิสเทอีนเป็นกรดอะมิโน ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผมและเล็บ และช่วยต้านอนุมูลอิสระ ที่ทำลายเซลล์ผมและเล็บ
  9. วิตามิน E มีกี่ชนิด วิตามิน E มี 2 กลุ่มหลัก คือ โทโคฟีรอล (Tocopherol) และ โทโคไตรอีนอล (Tocotrienol) ทั้งสองมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผมและเล็บให้แข็งแรง ลดการแตกเปราะของเล็บ และปกป้องเส้นผมจากมลภาวะ
  10. สารสกัด จากเมล็ดองุ่น อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ OPCs (Oligomeric Proanthocyanidins) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตไปยังหนังศีรษะ ทำให้รากผมแข็งแรง ลดผมร่วง และช่วยให้เล็บมีสุขภาพดีขึ้น

อะไรคือสาเหตุผมร่วง เล็บบาง?

  • การขาดสารอาหาร การขาดสารอาหารที่จำเป็น เช่นโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ สามารถส่งผลให้เส้นผมและเล็บอ่อนแอ
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เช่นในช่วงตั้งครรภ์ หลังคลอด หรือวัยหมดประจำเดือน สามารถทำให้ผมร่วง และเล็บเปราะได้
  • ความเครียด ความเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ สามารถกระตุ้นให้เกิดผมร่วง และเล็บเปราะได้
  • ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง หรือต่ำเกินไป สามารถทำให้ผมร่วง และเล็บเปราะได้
  • การใช้สารเคมี และการจัดแต่งทรงผมมากเกินไป การใช้สารเคมีหรือความร้อน ในการจัดแต่งทรงผมบ่อยๆ สามารถทำให้เส้นผมอ่อนแอ และหลุดร่วงได้
  • การเจ็บป่วย หรือการใช้ยาบางชนิด สามารถทำให้ผมร่วง และเล็บเปราะได้
  • การขาดการดูแลที่เหมาะสม การไม่ดูแลเส้นผมและเล็บอย่างเหมาะสม เช่นการไม่รักษาความสะอาด หรือการไม่บำรุง สามารถทำให้ผมร่วงและเล็บเปราะได้

ที่มา: Common Causes of Hair Loss and Brittle Nails in Women [1]

 

วิธีการดูแลผมจากภายนอก

อาหารเสริม ผมและเล็บ
  • การเลือกแชมพู และครีมนวด เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพเส้นผม เช่นแชมพูที่ไม่มีซัลเฟต (Sulfate-Free) สำหรับผมแห้งเสีย หรือแชมพูที่ช่วยควบคุมความมันสำหรับผู้ที่มีหนังศีรษะมัน
  • หลีกเลี่ยงความร้อนสูง การใช้ไดร์เป่าผมที่ร้อนเกินไป เครื่องหนีบหรือม้วนผมบ่อยๆ อาจทำให้เส้นผมอ่อนแอและแตกปลายได้ ควรใช้สเปรย์ป้องกันความร้อน ก่อนใช้ไดร์ หรือเครื่องหนีบผม
  • การหมักผมด้วยน้ำมันธรรมชาติ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันอาร์แกน และน้ำมันมะกอก มีคุณสมบัติช่วยบำรุงลึกถึงรากผม ลดผมแห้งเสีย และช่วยให้ผมแข็งแรง
  • การนวดหนังศีรษะ การนวดเบาๆ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หนังศีรษะ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม

ที่มา: 5 วิธีทำให้ผมดกหนา กระตุ้นผมเกิดใหม่ให้งอกได้อย่างมั่นใจ [2]

 

วิธีการดูแลเล็บจากภายนอก

  • หลีกเลี่ยงการกัดเล็บ การกัดเล็บอาจทำให้เล็บเสียหาย และติดเชื้อได้ ควรตัดเล็บให้สั้นพอดี และใช้ผลิตภัณฑ์เคลือบเล็บ
  • การใช้มอยส์เจอไรเซอร์ การทามอยส์เจอไรเซอร์ หรือน้ำมันบำรุงที่เล็บ ช่วยป้องกันการแตกเปราะ และเพิ่มความแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีรุนแรง น้ำยาล้างเล็บที่มีอะซิโตน (Acetone) อาจทำให้เล็บแห้ง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารระคายเคือง
  • การตัดเล็บให้ถูกต้อง ตัดเล็บให้เป็นรูปทรงตรง และไม่ตัดสั้นเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเล็บขบ

ที่มา: 5 พฤติกรรมทำเล็บเปราะบาง หักง่าย [3]

 

สรุปควรบำรุงผม เล็บ ภายในสู่ภายนอก

การดูแลเส้นผมและเล็บให้แข็งแรง ต้องอาศัยการดูแลทั้งจากภายในและภายนอก การทานอาหารที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญ ควบคู่ไปกับการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม และการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำลายสุขภาพผมและเล็บ การดูแลอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผมและเล็บแข็งแรง เงางาม และมีสุขภาพดีขึ้น

ใครควรทานอาหารเสริมผมและเล็บ

  • ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง มีปัญหาผมร่วงมากผิดปกติ ผมบาง หรือหนังศีรษะเริ่มเห็นชัด มีภาวะผมร่วงจากฮอร์โมน เช่นผมร่วงหลังคลอด หรือผมร่วงจากภาวะไทรอยด์ มีปัญหาผมแห้งเสีย แตกปลายจากสารเคมีหรือความร้อน
  • ผู้ที่มีเล็บเปราะ แตกหักง่าย มีเล็บบาง ฉีกขาดง่าย หรือเล็บเป็นคลื่น เล็บแห้ง ไม่มีความเงางาม เล็บไม่แข็งแรง หรือมีจุดขาวที่เกิดจากการขาดแร่ธาตุ
  • ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ครบหมู่ หรือขาดสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนและแร่ธาตุ ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติหรือวีแกน ซึ่งอาจขาดสารอาหารที่สำคัญต่อเส้นผมและเล็บ
  • ผู้ที่มีความเครียดสูง หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ คนที่มีความเครียดสะสม ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะผมร่วง
  • ผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้ระบบร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ไม่ดี ส่งผลต่อสุขภาพของเส้นผมและเล็บ
  • ผู้ที่ผ่านกระบวนการทำเคมี และจัดแต่งทรงผมบ่อย ผู้ที่ดัด ยืด ทำสีผม หรือใช้ความร้อนสูงเป็นประจำ
  • ผู้ที่ใช้ยาทาเล็บหรือน้ำยาล้างเล็บบ่อยๆ ซึ่งอาจทำให้เล็บเปราะง่าย
  • ผู้สูงอายุที่มีปัญหาผมบางและเล็บเปราะ อายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ร่างกายผลิตเคราติน และคอลลาเจนได้น้อยลง ส่งผลให้เส้นผมบางลง และเล็บอ่อนแอ
  • หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอด ในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้เกิดภาวะผมร่วงและเล็บเปราะ

การกินอาหารเสริม ข้อควรระวัง

  • หลีกเลี่ยงการทานเกินปริมาณที่แนะนำ
  • ตรวจสอบการแพ้สารอาหาร หรือส่วนผสมในอาหารเสริม
  • ระวังการโต้ตอบกับยา และอาหารเสริมอื่นๆ
  • ไม่ควรใช้แทนอาหารหลัก
  • หลีกเลี่ยงอาหารเสริมที่ไม่มีมาตรฐาน หรือมีสารปนเปื้อน
  • ควรเลือกทานอาหารเสริมอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มากเกินไป
Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง